หมวดใหญ่หมวดสุดท้ายของพันธสัญญาเดิมคือหมวดผู้พยากรณ์ ซึ่งประกอบด้วยหนังสือ 17 เล่ม และ 16 เล่มนั้นตั้งชื่อตามชื่อผู้พยากรณ์ที่กล่าวถ้อยคำเหล่านั้น (ยกเว้นเพลงคร่ำครวญ) อิสยาห์ เยเรมีย์ เอเสเคียล และดาเนียลล้วนได้ชื่อว่า ‘ผู้พยากรณ์ใหญ่’ ส่วนสิบสองคนที่เหลือได้ชื่อว่า ‘ผู้พยากรณ์น้อย’
อิสราเอลมีผู้พยากรณ์ตั้งแต่สมัยแรกโมเลสนั้นเป็นคนแรกสุดและยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดสมัยของผู้วินิจฉัยและกษัตริย์ มีผู้พยากรณ์ปรากฏอยู่ในเหตุการณ์เสมอ บางคนผ่านมาเพียงแวบเดียว แต่บางคนมีบทบาทสำคัญยิ่งเช่นเอลียาห์และเอลีชา
นอกจากโมเลสแล้ว เราไม่รู้ว่าพยากรณ์ก่อนศตวรรษที่ 8 กคศ. สอนเรื่องอะไรบ้าง แต่ตั้งแต่นั้นมาข่าวสารของอาโมสและโฮเชยาได้ถูกบันทึกไว้และยังหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน ตลอด 300 ปีต่อมามีผู้พยากรณ์ปรากฏในประวัติศาสตร์ของอิสราเอลอย่างไม่ขาดสายจนถึงสมัยที่เชลยยิวกับคืนถิ่นฐานเดิมจากบาบิโลน
เราไม่ทราบแน่ว่าผู้พยากรณ์แต่ละคนเขียนหนังสือเอง หรือคนที่ฟังเป็นผู้เขียนอย่างน้อยเยเรมีย์เองได้บันทึกคำสอนบางส่วนของเขาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่เนื้อหาของคำพยากรณ์อยู่ในรูปคำพูด
ผู้พยากรณ์เป็นคนของพระเจ้า ทำหน้าที่เป็นทูตของพระองค์ บางทีคนเหล่านี้จึงพูดราวกับว่าเป็นคำพูดของเขาเอง เช่น ‘เราบอกท่านทั้งหลายว่า…’ ผู้พยากรณ์รู้แก่ใจดีว่าเขาเป็นผู้ที่พระเจ้าทรงเรียก (ดูอิสยาห์ 6; เยเรมีย์ 1; เอเสเคียล 1-3) และได้รับการดลใจจากพระวิญญาณ พวกเขามักสื่อข่าวสารอย่างแจ่มชัดราวกับตาเห็นโดยใช้ภาพ ท่าทางประกอบหรือนิมิต
ในปัจจุบันคำ ‘พยากรณ์’ หมายถึงการทำนายเรื่องในอนาคต และผู้พยากรณ์ในพันธสัญญาเดิมได้ทำนายเหตุการณ์อย่างถูกต้องจริง ๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับพระเมสสิยาห์ แต่ข่าวสารที่ผู้พยากรณ์กล่าวถึงนั้นเกี่ยวข้องกับ ‘ปัจจุบัน’ ด้วย เพราะหน้าที่ของพวกเขาคือเรียกร้องให้ชนชาติอิสราเอลหวนคืนสู่วิถีทางของพระเจ้าและไว้วางใจในพระองค์เพียงผู้เดียว จึงสำคัญยิ่งที่เราควรรู้สถานการณ์ของสมัยผู้พยากรณ์เพื่อจะได้เข้าใจข่าวสารของเขาอย่างชัดแจ้งและได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่
ประกอบด้วยบทกวีห้าบทโดยไม่ได้ระบุชื่อผู้เขียน สี่บทแรกเขียนตามลำดับอักษรฮีบรูแสดงถึงความปวดร้าวของประชาชนในยามที่เยรูซาเล็มถูกบาบิโลนบดขยี้ ดูเหมือนว่าผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่เห็นกรุงแตกกับตาในปี 586 กคศ. และยังใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางซากปรักหักพังอย่างแร้นแค้นขณะที่คนส่วนใหญ่ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยที่บาบิโลน
น่าสลดใจอยู่แล้วที่เยรูซาเล็มแตกและคนยิวต้องตกระกำลำบาก แต่ที่ร้ายกว่านั้นคือพระเจ้าได้ทอดทิ้งคนของพระองค์ และปล่อยให้ทนทุกข์ทรมารเพราะบาปของเขา แต่ใน 3:21-27 ประกายแห่งความหวังยังสาดแสงให้เห็นเมื่อผู้เขียนไว้วางใจในพระกรุณรอันไม่รู้สิ้นสุดของพระเจ้า
จากประสบการณ์ส่วนตัวอันขมขื่นของโฮเชยาในเรื่องของภรรยาผู้หลายใจ ทำให้ขาสามารถบรรยายถึงความรักที่พระเจ้ามีต่ออิสราเอลและความเสียพระทัยที่พวกเขาปฏิเสธความรักของพระองค์ได้อย่างกินใจ
ภาค 1: โฮเชยาเศร้าเสียใจเพราะภรรยาส่วนพระเจ้าเพราะอิสราเอล 1-3
ภรรยาและลูก ๆ ของ โฮเชยา 1-2:1
อิสราเอลไม่สัตว์ซื่อ 2:2-23
โฮเชยารับภรรยากลับมา 3
ภาค 2: พระเจ้ารักแต่ต้องลงโทษ 4-13
บทส่งท้าย: พระสัญญาถึงการฟื้นฟู 14
สมัยโฮเชยาคาบเกี่ยวกับช่วงแรกของอิสยาห์ เขามาจากอาณาจักรเหนือ เริ่มงานในสมัยเยโรโบอัมที่สองเป็นกษัตริย์สำคัญองค์สุดท้ายแห่งอิสราเอล และอีกหกรัชกาล (ซึ่งเป็นเวลา 20 ปีแห้งความเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว) จนถึงช่วงก่อนกรุงสะมาเรียตกเป็นของอัสซีเรียใน 721 กคศ.
โฮเชยาเป็นคนมีความรู้สึกไว ประสบการณ์ส่วนตัวอันน่าสลดใจทำให้เขามีความเมตตามากขึ้น แม้เขาพยากรณ์ถึงการพิพากษาเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็พูดด้วยถ้อยคำแห่งความรักและห่วงใย
พระเจ้ารักอิสราเอล 11:1-4
พระเจ้าสัญญาจะอวยพร 14:4-9
อิสราเอลนมัสการพระบาอัลพระแห่งความอุดมสมบูรณ์ของคานาอัน ความเสื่อมโทรมของศาสนาและสังคมของอิสราเอลบีบค้นให้พระเจ้าต้องทำโทษอิสราเอลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โฮเชยากล่าวถึงความรักอันมั่นคงที่พระเจ้าทรงมีต้ออิสราเอลผู้ไม่ซื้อสัตย์ พระองค์ใคร่จะให้อิสราเอลกลับมาหาและชื่นชมในพระพร
ภัยพิบัติอันย่อยจากตั๊กแตนเป็นเครื่องหมายเล็งถึง ‘ วันแห่งพระเจ้า ‘ ที่กำลังมาถึง ซึ่งร้ายแรงยิ่งกว่านั้นหลายเท่า โยเอลเรียกร้องให้ประชาชนกลับใจใหม่และรอคอยวันแห่งพระพรอันท่วมท้น
ภัยพิบัติจากตั๊กแตน 1
วันแห่งพระเจ้า: เรียกให้กลับใจ 2:1-17
พระเจ้าให้พระวิญญาณกับทุกคน 2:18-32
กล่าวโทษประชาชาติ 3
เราไม่รู้อะไรเกี่ยวกับตัวโยเอลหรือเวลาที่เขาเขียน ใน 3:2 กล่าวว่า ‘เขาได้กระจายชนชาติของเราไปท่ามกลางประชาชาติ’ อาจบ่องบอกถึงสมัยหลังชาวยิวตกเป็นเชลยที่บาบิโลนแล้ว
‘ เราจะเทพระวิญญาณของเรามาเหนือมนุษญ์ทั้งปวง ’ 2:28-29
โยเอลเรียกร้องให้อิสราเอลทั้งชาติกลับใจใหม่ มิใช่เพียงเพราะภัยพิบัติจากตั๊กแตน ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนภัย แต่เพราะพระเจ้าจะพิพากษาความบาปที่ไม่ได้สารภาพ
เปโตรยกข้อความเรื่องการเทพระวิญญาณเหนือทุกคนมาอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันเพ็นเทคอสต์
เป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองแต่เต็มไปด้วยการโกงกิน อาโมสห่วงเรื่องความอยุติธรรมในสังคม ซึ่งเป็นจุดใหญ่ที่บรรดาผู้พยากรณ์กล่าวประมาณครั้งแล้วครั้งเล่า
พยากรณ์กล่าวโทษประชาชาติ 1:1-2:5 กล่าวโทษอิสราเอล 2:6-6:14 นิมิตห้าอย่าง 7:1-9:10 สัญญาจะกอบกู้อิสราเอล 9:11-15
อาโมสพยากรณ์ถึงอิสราเอลอาณาจักรเหนือในศตวรรษที่ 8 กคศ. อาจก่อนโฮเชยาเล็กน้อยหรือ 2-3 ปี ก่อนอิสยาห์ อยู่ในสมัยกษัตริย์เยโรโบอัมที่สองที่รุ่งเรืองและมีชัยชนะเหนือศัตรู แต่อาโมสเล็งเห็นจุดนำไปสู่ความเสื่อมโทรมซึ่งกำลังก่อตัวขึ้น
อาโมสเป็นคนเลี้ยงแกะบ้านนอก จิตใจเป็นทุกข์กับพระดำรัสของพระเจ้า เขาเดินทาง จากเทโคอาในยูดาห์มุ่งหน้าไปทางเหนือถึง เบธเอลและกิลกาลซึ่งมีแท่นบูชาตั้งอยู่ เขาประณามความอยุติธรรมและหน้าซื่อใจคตของอิสราเอลอย้างไม่ไว้หน้าใคร
‘ จงให้ความอยุติธรรมหลั่งไหล ‘ 5:21-24
อาโมสช่ำชองในการตีแผ่ภาพลวงที่ชาวยิวหลอกตัวเองอยู่ขณะประชาชนชอบอกชอบใจที่อาโมสประณามความบาปของชนชาติอื่น พวกเขาถึงกับชะงักงันเมื่อได้ยินคำว่า ‘ชาวอิสราเอลทำบาป…’ ความหวังสดใสต่อ ‘ วันแห่งพระเจ้า ‘ ในอนาคตต้องสลายไป เมื่ออาโมสพยากรณ์ว่า ‘ วันแห่งพระเจ้า ‘ เป็นวันแห่งความมืดมนแทนที่จะเจิดจ้าอย่างที่คิดสังคมจะไม่มั่นคงหากความมั่งคั่งตกอยู่กับคนแค่ไม่กี่คนและคนส่วนใหญ่ไม่ได้รับความยุติธรรม เพราะนี่มิใช่วิถีทางของพระเจ้า
เป็นเล่มสั้นที่สุดในพันธสัญญาเดิมซึ่งทำนายถึงการสิ้นชาติเอโดม ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของยูดาห์ ภายหลังเมืองเพตราตั้งอยู่ในบริเวณนี้ เอโดมรีบฉกฉวยเอาผล ประโยชน์ขณะเยรูซาเล็มตกอยู่ในภาวะวิกฤติ และปล้นทรัพย์สินขณะบาบิโลนเผาผลาญเยรูซาเล็ม (586 กคศ.)
เรื่องของโยนาห์ผู้พยากรณ์ที่ละล้าละลังที่สุดบทเรียนที่เขาต้องเรียนรู้คือ พระเจ้ามิได้เมตตาเฉพาะอิสราเอลชาติเดียว
พระเจ้าเรียกโยนทห์ไปพยากรณ์ที่นีนะเวห์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงอัสซีเรียคู่อริของอิสราเอล เขาพยายามหลีกหนีจากหน้าที่นี้ แต่พระเจ้าทรงยับยั้งไว้ (เรื่องปลายักษ์แทรกมาตอนนี้) เมื่อโยนาห์พยากรณ์ในนีนะเวห์ ผู้คนที่นั่นพากันกลับใจใหม่และรอดจากพระพิโรธ แต่โยนาห์กลับขุ่นเคืองในเรื่องนี้มาก จึงนั่งดูจุดจบของนีนะเวห์ใต้รุ่มไม้ ต่อมาต้นไม้นั้นเหี่ยวเฉาลงท่ามกลางแสงแดดแผดหล้าโยนาห์สุดแสนเสียดาย พราะเจ้าจึงชี้ให้เห็นว่าเขาควรหันไปเมตราชาวนีนะเวห์ดีกว่า
ไม่ทราบแน่ชัด ตัวโยนาห์อาจไม่ได้เขียนเอง จึงมิใช่เวลาที่ระบุใน 2 พงษ์กษัตริย์ 14:25 หรืออาจเขียนขึ้นหลังจากอัสซีเรียเสื่อมอำนาจ เพื่อดึงอดีตมาเป็นอุทาหรณ์
โยนาห์รับความคิดที่ว่าพระเจ้าเมตตาชนทุกชาติรวมทั้งคู่อริของอิสราเอลไม่ได้เลยใจความสำคัญของเรื่องสั้นอันน่าทึ่งนี้ก็คือความรอดของพระเจ้ามีสำหรับคนทั่วโลกการที่พระเจ้าเรียกอิสราเอลเป็นชนชาติพิเศษ ก็เพื่อประโยชน์ของพวกเขาเองและให้เป็น ‘ แสงสว่างแก่ประชาชาติ ‘
มีคาห์เป็นผู้พยากรณ์ยิ่งใหญ่หนึ่งในสี่ของศตวรรษที่ 8 กคศ. ร่วมกับอาโมส โฮเชยา และอิสยาห์ จากชีวิตชาวนาบนเนินเขาทำให้มีคาห์เข้าใจดีถึงความอยุติธรรมในสังคม
ความบาปของยูดาห์และอิสราเอล 1-3
การฟื้นฟูและสันติภาพ 4-5
พระประสงค์ของพระเจ้า 6
ความมืดและความสว่าง 7
มีคาห์พยากรณ์ในยุคเดียวกับโฮเชยา (ในอิสราเอล) และอิสยาห์ (ในยูดาห์) แต่เขาได้พยากรณ์ถึงทั้งสองอาณาจักร แม้อิสราเอลและกรุงสะมาเรียจะตกเป็นของอัสซีเรียในสมัยของเขาก็ตาม อัสซีเรียได้โจมตียุดาห์ในช่วงนี้ด้วย แต่มีคาห์กล่าวถึงเรื่องนี้เพียงย่อ ๆ เท่านั้น
พระเจ้าปกครองด้วยสันติภาพ 4:1-4 (เหมือนกัยอิสยาห์ 2:1-4) กษัตริย์จากเบธเลเฮม 5:2-4 น้ำพระทัยพระเจ้า 6:6-8
เช่นเดียวกับผู้พยากรณ์คนอื่น ๆ มีคาห์ชิงชังเครื่องสัตวบูชาและการนมัสการที่ไม่เป็นไปตามน้ำพระทัยพระเจ้าและปราศจากความยุตธรรม สิ่งที่เขาห่วงมากที่สุด คือความอยุติธรรมทางสังคมและศาสนาที่ออกนอกสู่นอกทาง แต่เขาเฝ้าคอยอนาคตแห่งสันติภาพและพระพรจากพระเจ้า
เป็นบทกวีแสดงความยินดีที่เห็นนีนะเวห์ เมืองหลวงของชาวอัสซีเรียผู้เหี้ยมโหดและเรืองอำนาจได้เสื่อมลงและล่มสลาย อาจเขียนขึ้นช่วงที่บาบิโลนและมีเดียโค่นล้มเมืองนั้นใน 612 กคศ. นี่เป็นคำพยากรณ์ที่ไม่ได้เรียกร้องให้ประชาชนกลับใจเหมือนคำพยากรณ์อื่น ๆ คำสอนที่แฝงอยู่ในเล่มนี้คือพระเจ้าทรงเป็นจอมเจ้านายเหนือประวัติศาสตร์โลก และอำนาจความแข็งแกร่งและความภาคภูมิใจในชาติไม่ได้เป็นตัวกำหนดสถานการณ์ทางการเมืองหรือการสงคราม
ฮาบากุกขบคิดปัญหาที่ทุกยุคสมัยข้องใจกันเรื่อยมาคือ ทำไมพระเจ้าถึงอนุญาตให้คนชั่วรุ่งเรือง โดยเฉพาะเหตุใดชาวบาบิโลน (หรือเคลเดีย) ผู้ซึ่งชอบรุกรานจึงแข็งแกร่งชนชาติอื่นที่ชั่วน้อยกว่าเขา
ทำไมคนชั่วจึงรุ่งเรือง 1
คำตอบของพระเจ้า 2
ผู้พยากรณ์สรรเสริญพระเจ้า 3
เนื้อหาบ่งชี้ว่าเขียนขึ้นในช่วงที่บาบิโลนขึ้นเป็นมหาอำนาจ โค่นล้มอัสซีเรียใน 612 กคศ. ชนะอียิปต์ที่คารเคมิชใน 605 กคศ. และเยรูซาเล็มแตกครั้งแรกใน 597 กคศ. ฮาบากุกจึงพยากรณ์ในยุกเดียวกับเยเรมีย์นอกจากนั้นเราไม่รู้อะไรเกี่ยวกับตัวเขาเลย
ดำเนินชีวิตด้วยความเชื่อ 2:4
พระเจ้าทรงสถิตในพระวิหารบริสุทธิ์ 2:20
คำถามของฮาบากุกนั้นจริงจังและสำคัญยิ่ง ซึ่งคล้ายกับปัญหาของโยบและของสดุดี 73 คำตอบไม่ใช่ในทางสติปัญญาหรือปรัชญาแต่ให้ความแน่ใจว่าความเชื่อมั่นคงนั้นจะไม่มีวันทำให้เราผิดหวังเพราะพระเจ้าทรงควบคุมทุกสิ่งในโลกและเป็นผู้ที่เราไว้ใจได้
เศฟันยาห์ เห็นแต่ความพินาศของเยรูซาเล็ม เพราะประชาชนไม่เชื่อฟัง แต่เขาเชื่อเช่นเดียวกับอิสยาห์ผู้พยากรณ์ที่มาก่อนว่าชาวยิงที่ถูกชำระและรอดตายจะมีอนาคตสดใส
วันพิพากษา 1:1-2:3
ประชาชาติจะพินาศ 2:4-15
ความหวังของคนที่เหลืออยู่ 3:1-13
เพลงแห่ความชื่นชมยินดี 3:14-20
เศฟันยาห์พยากรณ์ในช่วงแรกของเยเรมีย์อาจเป็นต้นรัชกาลโยสิยาห์ ก่อนการปฏิรูปศาสนาอันยิ่งใหญ่
เศฟันยาห์เน้นปัญหาที่ผู้พยากรณ์หลายคนถามถึงคือการพิพากษาและความพินาศของอิสราเอลจะประสานกับความหวังที่ว่าจะมีอนาคตชั่วนิรันดร์ได้อย่าไร คำตอบคือการพิพากษาจะชำระประชาชน ล้างคาวความหยิ่งยโสและการเพิกเฉย ผู้ที่เหลืออยู่จะเป็น ‘ คนที่ถ่อมใจและเจียมตัว เขาจะแสวงหาที่ลี้ภัยในพระนามแห่งประเจ้า ‘ (3:12)
ผู้พยากรณ์สามคนสุดท้ายในพันธสัญญาเดิมทำงานในสมัยที่เชลยยิวเพิ่มหวนคืนถิ่นเดิมเช่นเดียวกับเศคาริยาห์ ฮักกัยเร่งเร้าให้ชาวยิงร่วมแรงร่วมใจกันบูรณะพระวิหารต่อไป
ประชาชนยอมบูรณพระวิหาร 1
ความโอ่อ่าของพระวิหาร 2:1-9
พระเจ้าอวยพรเชื่อฟัง 2:10-19
กำชับเศรุบบาเบล 2:20-23
ฮักกัยระบุเวลาอย่างชัดแจ้ง เขาพยากรณ์ใน 520 กคศ. เอสรา 5:1-2 และ 6:14 กล่าวถึงทั้งเศคาริยาห์และฮักกัยที่เร่งเร้าให้บูรณะพระวิหารซึ่งเสร็จสิ้นใน 516 กคศ.
ปัญหาเงินเฟ้อ 1:6
ผู้ว่าเศรุบบาเบลนำเชลยยิวเริ่มบูรณะพระวิหารแต่ความท้อใจทำให้ชะงักไป พวกเขาหันไปสร้างบ้านเรือนสวยงามสำหรับตัวเองฮักกัยท้าทายลำดับความสำคัญก่อนหลังที่ไม่ถูกต้องนี้ ประชาชนยอมทำตามซึ่งต่างจากผู้พยากรณ์คนอื่น เขาสอนว่าเราจะได้รับความมั่นคงอันแท้จริงต่อเมื่อยอมทำให้พระประสงคิของพระเจ้าสำเร็จก่อน
เศคาริยาห์ผู้เห็นนิมิตเสมอๆ ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับฮักกัย คำพยากรณ์ของเขาให้ภาพชัด และกินใจยิ่งนัก
ภาค 1 : ยุคใหม่ได้เริ่มขึ้นแล้ว 1-8
คำนำ 1 :1-6
นิมิต 8 อย่าง 1:7-8:23
ภาค 2 : อิสราเอลและประชาชาติ 9-14
ข่าวสารครั้งแรก 9-11
ข่าวสารครั้งที่สอง 12-14
เศคาริยาห์พยากรณ์ถึงเยรูซาเล็มและการบูรณะพระวิหารนานกว่าฮักกัย คือตั้งแต่ 520-518 กคศ. ภาคสอง (บทที่ 9-14 ) ของเล่มนี้ต่างจากภาคแรกมาก บางคนทึกทักว่าอาจมีผู้เขียนสองคน และผู้เขียนคนที่สองเขียนในสมัยหลัง สิ่งที่เชื่อมโยงสองภาคนี้ ( และมาลาคีด้วย) ก็เป็นหัวข้อนั่นเอง คือยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยพระพร
ชัยชนะโดยพระวิญญาณของพระเจ้า 4:6 จอมกษัตริย์กำลังจะมา 9:9
เชลยยิวกลุ่มเล็กที่กลับมาเยรูซาเล็มพากันตื่นเต้นกับการใช้ชีวิตใหม่ แม้อาจเผชิญกับความยุ่งยากอยู่บ้าง แต่พวกเขาก็กำลังทำตามการทรงนำของพระเจ้า เศคาริยาห์เริ่มจากจุดนี้ไปถึงยุคใหม่ มิใช่สำหรับเยรูซาเล็มเท่านั้นแต่ทั้งโลกด้วย ท่ามกลางคำพยากรณ์ถึงยุคใหม่ เราพบข้อความเกี่ยวกับ ‘ พระเมสสิยาห์’ กษัตริย์แห่งความรัก และยุติธรรมที่พระเจ้าจะส่งมายังโลก นี่เป็นเหตุที่พันธสัญญาใหม่ยกย่องคำในเศคาริยาห์มาอ้างอิงบ่อยๆ เพราะคริสเตียนสมัยแรกเชื่อว่าพระเมสสิยาห์องค์นี้คือพระเยซู
มาลาคีท้าทายประชาชนถึงความสัมพันธ์กับพระเจ้าและความเชื่อฟังพระองค์
พระเจ้ารักอิสราเอล 1 :1-5
เครื่องถวายบูชาที่ไร้ค่า 1 :6-2:9
ฝ่าฝืนพระบัญญัติ 2 :10-16
พระเจ้าจะพิพากษา 2:17-3:5
การถวายสิบลด 3:6-12
พระเจ้าสัญญาจะเมตตา 3:13-4:6
มาลาคีแปลว่า ‘ ทูตของเรา ‘ ยอมรับกันว่ามาลาคีพยากรณ์หลังฮักกัยกับเศคาริยาห์ประมาณ 80 ปี และก่อนหน้าที่เนหะมีย์จะรับตำแหน่งผู้ว่าราชการเยรูซาเล็มเล็กน้อยราวกลางศตวรรษที่ 5 กคศ. อันเป็นช่วงเวลาแห่งความยากลำบาก และประชาชนเริ่มหย่อนยานในการทำตามพระบัญญัติ
ทูตพระเจ้า 3 : 1
เราจะเปิดหน้าต่างในฟ้าสวรรค์ให้เจ้า 3 : 10
ความชอบธรรมจะเข้ามา 4:2
มาลาคีเชื่อว่าทางเดียวที่จะรับพระพร คือ ปฎิบัติตามพระบัญญัติอย่างเต็มใจ นานกว่าเชลยยิวจะตั้งชาติขึ้นใหม่อีกครั้ง พวกเขาจึงเริ่มท้อใจ แต่นี่เป็นเพราะพวกเขาทำตามอำเภอใจมากกว่าน้ำพระทัยพระเจ้า มาลาคีท้าทายชาวยิวให้จัดลำดับความสำคัญก่อนหลังใหม่ให้ถูกต้อง และหนุนใจว่าพระเจ้าจะอวยพรชาวยิวให้มีอนาคตสดใส
เขียนโดย คุณโปรดปราน