จดหมายฝาก

1. โรม

ในพันธสัญญาใหม่มีจดหมายฝากทั้งหมด 21 ฉบับ และมีถึง 13 ฉบับที่เชื่อกันว่าเปาโลเป็นผู้เขียน จดหมายฝากเหล่านี้ช่วยให้เราเห็นถึงความเชื่อ และชีวิตคริสตจักรสมัยแรกชัดเจน จดหมายฝากโรมมีอิทธิพลต่อผู้นำคริสตจักรอย่างมหาศาลตลอดประวัติศาสตร์ ฉบับนี้บรรจุข้อคิดอันมีเหตุมีผลถึงข่าวประเสริฐที่เปาโลประกาศ

เนื้อเรื่อง

บทนำ : ทักทาย และคำนำ 1:1-15

ภาค 1: ข่าวประเสริฐ 1:16-8:39

ใจความสรุป 1:16-17

ความต้องการของมนุษย์ 1:18-3:20

พระเจ้าตอบสนองความต้องการของเราผ่านทางความเชื่อในพระเยซู 3:21-4:25

ถูกนับว่าเป็นคนชอบธรรมโดยความเชื่อ 5

ชีวิตใหม่ในพระเยซูคริสต์ 6-8

ภาค 2 : แผนการของพระเจ้าสำหรับอิสราเอล 9-11

ภาค 3 : วิถีชีวิตคริสเตียน 12:1-15:13

คริสเตียนใช้ชีวิตด้วยกัน 12

หน้าที่ต่อประเทศชาติและเพื่อนบ้าน 13

จิตสำนึกของคริสเตียน 14:1-15:13

บทส่งท้าย 15:14-16:27

เหตุผลที่เขียน 15:14-33

คำอวยพรและคำกำชับ 16:1-24

คำสรรเสริญ16:25-27

เวลาที่เขียนและสถานการณ์

เปาโลอาจเขียนจดหมายนี้ขณะเดินทางไปโครินธ์ในกรีซเป็นครั้งที่สองราว ค.ศ. 57

เขาวางแผนที่จะไปเยี่ยมคริสเตียนโรม จึงเขียนถึงความเชื่อของเขาเพื่อปูทางไปโรม แม้จะมีอุปสรรคมาตลอด แต่ในที่สุดเขาก็ไปถึงโรมในฐานะนักโทษ ฉบับนี้บ่งชี้ว่าคริสตจักรโรมก้าวหน้าและเป็นปึกแผ่น

ข้อความที่มีชื่อเสียง

ฤทธิ์อำนาจของข่าวประเสริฐ 1:16-17

พระคุณพระเจ้าที่ตอบสนองต่อความต้องการของเรา 3:23-24

ถูกนับว่าชอบธรรมโดยความเชื่อ 5:1

ผลของบาป-ของประทานแห่งชีวิต 6:23

ชีวิตใหม่แห่งเสรีภาพ 8:1-2

ไม่มีทางขาดจากพระคริสต์ 8:35-39

เครื่องถวายบูชาที่มีชีวิตอยู่ 12:1-2

ความชูใจด้วยพระคัมภีร์ 15:4-6

บทเรียนสอนใจ

เปาโลเปิดเผยถึงแก่นแท้ของข่าวประเสริฐ ทีละเปลาะ ๆ ทุกคนทำบาป เราจึงต้องการให้พระเจ้ามาช่วย พระเยซูตายเพื่อทุกคน พระเจ้ายอมรับว่าเราเป็นคนชอบธรรมผ่านทางพระเยซู เราจะเป็นเจ้าของของขวัญที่ให้ฟรี ๆ นี้โดยความเชื่อเพียงอย่างเดียว ข่าวดีนี้ได้เปลี่ยนชีวิตคนนับล้านทั่วโลก ในตอนท้ายเปาโลชี้ให้เห็นว่าชีวิตของผู้เชื่อในพระเยซูจะได้รับการเปลี่ยนแปลงใหม่

2. 1 โครินธ์

เปาโลเป็นผู้ก่อตั้งคริสตจักรโครินธ์ เขาเศร้าเสียใจมากเมื่อได้ยินว่ามีความแตกแยก ความขัดแย้งและการล่วงประเวณีเกิดขึ้น ในจดหมายนี้เขาตอบปัญหาและคำถามเหล่านี้ทีละประเด็น

เนื้อเรื่อง

บทนำ: ทักทายและขอบคุณ 1:1-9

ภาค 1: คริสตจักรแตกแยก 1:10-4:21

สติปัญญาของพระเจ้า 1:10-2:16

เสริมสร้างกันและกันบนรากฐานเดียว 3

ผู้รับใช้แท้ของพระเยซูคริสต์ 4

ภาค 2: ความบริสุทธิ์ทางเพศ: แต่งงาน หรือเป็นโสด 5-7

ปัญหาการล่วงประเวณีในหมู่คริสเตียน 5

คริสเตียนไม่ควรมีคดีความที่ศาล 6:1-11

ใช้ร่างกายอย่างถูกต้อง 6:12-20

ปัญหาเรื่องชีวิตสมรส 7

ภาค 3: การใช้ชีวิตท่ามกลางสังคมที่ไม่เชื่อพระเจ้า 8:1-11:1

คริสเตียนควรกินอาหารที่เซ่นไหว้ไหม 8

ความประพฤติของเปาโล 9

เห็นแก่จิตสำนึกของคริสเตียน 10-11:1

ภาค 4: การนมัสการแท้ 11:2-14:40

หญิงควรคุมศีรษะในคริสตจักร 11:2-16

พิธิมหาสนิท 11:17-34

ของประทานฝ่ายวิญญาณ 12

ความรักสำคัญที่สุด 13

ใช้ของประทานในที่ประชุม 14

ภาค 5: การเป็นขึ้นจากตายของพระคริสต์และของเรา 15

บทสรุป : คำกำชับสุดท้าย 16

เรี่ยไรช่วยคริสเตียน 16:1-4

แผนการอนาคตของเปาโล 16:5-12

คำอวยพรและคำกำชับ 16:13-24

เวลาและสถานที่ที่เขียน

เป่าโลอยู่โครินธ์ 18 เดือนในปี ค.ศ. 50-51 หลังจากนั้นไม่นาน ขณะพบความลำบากที่เอเฟซัส เขาได้ข่าวไม่ดีถึงคริสตจักรโครินธ์ จึงเขียนจดหมายนี้ราว ค.ศ. 54-57

ข้อความที่มีชื่อเสียง

กางเขนของพระคริสต์ 1:18 ,23-25

เราเป็นตึกของพระเจ้า 3 :10-15

‘ยอมเป็นคนทุกชนิด’ 9”19-22

ขนมปังและเหล้าองุ่น 11:23-25

‘ท่านทั้งหลายเป็นกายของพระคริสต์และต่างก็เป็นอวัยวะ…’ 12:27-31

‘แม้ข้าพเจ้าพูดภาษาแปลกๆ ได้…แต่ไม่มี ความรัก…ความรักใหญ่ที่สุด’ 13:1-13

พระคริสต์เป็นขึ้นจากตายจริง ๆ 15:20-21

‘โอ มัจจุราชเอ๋ย ชัยชนะของเจ้าอยู่ที่ไหน …เหล็กไนของเจ้าอยู่ที่ไหน ‘ 15:51-57

ใจความสำคัญ

คริสเตียนโครินธ์เป็นกลุ่มที่ปะปนกันด้านเชื้อชาติและฐานะทางสังคม เมืองโครินธ์เป็นทางผ่านของเส้นทางการค้าหลายสาย ดังนั้นจึงมีคนทุกประเภทอาศัยอยู่ในนั้น ผลลัพธ์อันหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือศีลธรรม เสื่อมซึ่งกระทบถึงคริสเตียนบางคนด้วย ส่วนคริสเตียนอีกกลุ่มหนึ่งก็ตกเป็นเหยี่อของความเย่อหยิ่งฝ่ายจิตวิญญาณ เปาโลจึงต้องหาทางช่วยคนธรรมดา ๆ ที่ย่อมผิดพลาดได้ให้มีชีวิตใหม่ซึ่งต่างจากวิถีชีวิตเดิมราวฟ้ากับดิน คริสเตียนทุกยุคสมัยต้องเผชิญกับปัญหาอย่างเดียวกันนี้ เปาโลให้หลักเกณฑ์ชีวิตที่ถูกต้องในทุกกรณี เพื่อพวกเขาจะมีชีวิตสมกับเป็นผู้ที่พระเจ้าทรงเรียกให้ติดตามพระเยซูคริสต์

3. 2 โครินธ์

ฉบับนี้เผยถึงความรู้สึกส่วนลึกของเปาโลมากกว่าฉบับอื่น ๆ เปาโลห่วงคริสตจักร ใหม่นี้อย่างสุดซึ้ง และเปิดอกพูดถึงความทุกข์ยากและความภาคภูมิใจอย่างยิ่งในการเป็นผู้รับใช้พระคริสต์

เนื้อเรื่อง

บทนำ: คำทักทายและคำชี้แจง 1:1-2:13

ทักทายและขอบคุณ 1:1-7

สถานการณ์ของเปาโล 1:8-2:-4; 2:12-13

การวางตัวกับผู้ทำผิด 2:5-11

ภาค 1: สิทธิพิเศษของผู้รับใช้ 2:14-6:10

การรับใช้ฝ่ายวิญญาณ 2:14-4:15

ใช้ชีวิตโดยคิดถึงชีวิตนิรันดร์ 4:16-5:10

ทูตของพระคริสต์ 5:11-21

การเสียสละของผู้รับใช้ 6:1-10

ภาค 2: ข่าวสารถึงชาวโครินธ์ 6:11-7:16

คำขอร้องคริสตจักร 6:11-7:1

เปาโลได้รับการหนุนใจจากปฏิกิริยาของชาวโครินธ์ 7:2-16

ภาค 3: เรี่ยไรช่วยคริสเตียนในยูเดีย 8-9

ภาค 4: การรับใช้ของเปาโล 10:1-13:10

บทสรุป: คำกำชับและอวยพร 13:11-14

เวลาและเหตุผลที่เขียน

ฉบับนี้อาจเขียนหลัง 1 โครินธ์สักปีสองปีที่แคว้นมาซิโดเนียนตอนเหนือของกรีซ ซึ่งมีฟีลิปปีเป็นเมืองหลวง ดูเหมือนคำขอร้องในฉบับแรกไม่ได้ผล เขาจึงส่งจดหมายไปอีกฉบับหนึ่ง ในที่สุดทิตัสได้รายงานว่าคริสเตียนขาวโครินธ์ตอบสนองคำขอร้องของเปาโลแล้ว เขาจึงเขียนฉบับนี้ขึ้นเพื่อแสดงความดีใจ แต่ยังต้องย้ำถึงสิทธิในการตักเตือนในจุดที่จำเป็นในบทที่ 10-13 อีก

ข้อความที่มีชื่อเสียง

‘ประมวลกฎนั้นประหารให้ตาย แต่ส่วนพระวิญญาณประทานชีวิต’ 3:5-6

เหมือนพระเยซูมากขึ้น 3:17-18

‘ถ้าผู้ใดอยู่ในพระคริสต์ ผู้นั้นก็เป็นคนที่ถูกสร้างใหม่’ 5:17-21

ความทุกข์ยากของเปาโล 6:4-10

พระเจ้ารักคนที่ให้ด้วยใจยินดี 9:6-10

คำอวยพร 13:14

ใจความสำคัญ

จุดใหญ่ของฉบับนี้อยู่ที่คำสอนถึงคุณสมบัติของผู้รับใช้พระคริสต์ ซึ่งจำเป็นยิ่งสำหรับคริสเตียน นี่มิใช่ให้ทำตามกฏบัญญัติ แต่ความมีประสิทธิภาพมาจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ และเป้าหมายของการรับใช้คือการนำคนมาคืนดีกับพระเจ้าผ่านทางพระคริสต์ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทั้งหญิงชายจะกลายเป็นคนใหม่(5:17) และจะได้รับกำลังจากพระเจ้าในการดำเนินชีวิตใหม่หมดทุกด้าน

4. กาลาเทีย

ฉบับนี้เขียนขึ้นเพื่อคัดค้านความคิดผิดเพี้ยนที่ส่งผลเสียหายยิ่งคือ คริสเตียนยิวบางคนยืนกรานว่าคนที่จะได้รับความรอด จำต้องเข้าสุหนัตและทำตามพระบัญญัติของโมเสส ซึ่งเปาโลเห็นว่าเป็นอันตรายต่อพื้นฐานความเชื่อคริสเตียนอย่างมาก

เนื้อเรื่อง

บทนำ: ข่าวประเสริฐเดียว 1:1-10

ภาค 1: สิทธิอำนาจอัครทูต 1:11-2:14

ประสบการณ์แรกๆของเปาโล การสถาปนาเปาโลเป็นมิชชันนารี 1:11-2:10

ขัดแย้งเป็นโปโตร 2:11-14

ภาค 2: บัญญัติหรือความเชื่อ 2:15-4:31

ดำเนินชีวิตด้วยความเชื่อ 2:15-21

เหตุที่รอดด้วยพระบัญญัติไม่ได้ 3:1-14

จุดประสงค์ของพระบัญญัติ 3:15-25

เป็นลูกพระเจ้าโดยความเชื่อ 3:26-4:7

คำร้องขอต่อชาวกาลาเทีย 4:8-20

คำเปรียบถึงเสรีภาพ 4:21-31

ภาค 3: เสรีภาพใหม่ 5:1-6:10

ความเชื่อและความรัก 5:1-15

พระวิญญาณและพระบัญญัติ 5:16-26

ความประพฤติของคริสเตียน 6:1-10

ปัจฉิมลิขิต: เขียนด้วยลายมือ 6:11-18

เวลาที่เขียน

อาจเขียนขึ้นก่อนประชุมสภาที่เยรูซาเล็มในประชุมนั้นอภิปรายถึงประเด็นสำคัญของจดหมายนี้ ฉบับนี้จึงควรเขียนขึ้นราว ค.ศ.47-48 และเป็นฉบับแรกของเปาโล แต่ปัญหานี้อาจยังไม่ได้รับการแก้ไข เปาโลจึงเขียนฉบับนี้หลังประชุมสภาหลายปี อาจใกล้ช่วงที่เขียนจดหมายโรมในค.ศ. 54-57 (เพราะพูดเรื่องเดียวกัน) แคว้นกาลาเทียอาจเป็นตุรกีตอนเหนือ (นี่บ่งชี้ว่าเขาเขียนฉบับนี้ภายหลังเพราะเขาไม่เคยไปแถบนั้นก่อน ค.ศ. 48) หรือไม่ก็หมายถึงบริเวณกว้างขวางที่รวมถึงอันทีโอกในแคว้นปิสิเดียและลิสตราที่กล่าวถึงในกิจการ

ข้อความที่มีชื่อเสียง

ดำเนินชีวิตด้วยความเชื่อ 2:19-21

เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในพระเยซู 3:28

พระเจ้าส่งพระบุตรมา 4:4-5

เสรีภาพ 5:1

ผลของพระวิญญาณบริสุทธิ์ 5:22-23

บทเรียนสอนใจ

เปาโลยืนกรานว่าความรอดมิใช้ได้มาด้วยการรักษาบัญญัติ เหตุที่เขาย้ำนักย้ำหนาก็เพราะการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูได้ทำให้เงื่อนไขทั้งหมดที่เปิดทางให้มนุษย์คืนดีกับพระเจ้าบรรลุผล เปาโลจึงถือสิทธิ์อัครทูตประณามคำสอนที่ทำลายข่าวประเสริฐที่ว่ารอดได้โดยความเชื่อในพระคริสต์เท่านั้น

5. เอเฟซัส

ชี้ถึงแผนการพระเจ้าที่จะรวบรวมทุกสิ่งไว้ในพระคริสต์ผู้เป็นประมุข พระเจ้าต้องการให้เป้าหมายนี้สัมฤทธิผลในคริสตจักร การใช้ชีวิตร่วมกันในคริสตจักรจึงสำคัญยิ่งยวด

เนื้อเรื่อง

บทนำ: 1:1-2

ภาค 1: เอกภาพในพระเจ้า 1:3-3:21

การรวบรวมสรรพสิ่งเป็นหนึ่งเดียวและความไพบูลย์และพระคริสต์ 1:3-23

ชีวิตในพระคริสต์ 2:1-10

ยิวกับชาวต่างชาติ 2:11-22

บทบาทของเปาโลในการประกาศ 3:1-13

ขอให้เข้าใจความรักของพระเจ้า 3:14-21

ภาค 2: การใช้ชีวิตด้วยกัน 4:1-6:20

เป็นพระกายเดียวของพระคริสต์ 4:1-16

ความประพฤติของคริสเตียน 4:17-5:20

คนในครอบครัว ทาสกับนาย 5:21-6:9

ยุทธภัณฑ์ของพระเจ้า 6:10-20

ปัจฉิมลิขิต: คำอวยพร 6:21-24

เวลาที่เขียนและผู้รับจดหมาย

เปาโลเขียนขณะถูกจำคุกที่โรมราวค.ศ. 62 (รวมฟีลิปปี โคโลสี ฟีเลโมน) เพื่อเวียนถึงคริสตจักรรอบเอเฟซัสซึ่งปัจจุบันคือตุรกี

ข้อความที่มีชื่อเสียง

แผนการอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า 1:9-12

‘รอดโดยพระคุณเพราะความเชื่อ’ 2:8-10

อธิษฐานขอความรัก 3:14-21

ถึงความไพบูลย์ของพระคริสต์ 4:12-16

มาตรฐานสูงสำหรับชีวิตสมรส 5:21-33

สวมยุทธภัณฑ์ทั้งชุดของพระเจ้า 6:10-17

บทเรียนสอนใจ

ทุกสิ่งรวมอยู่ในพระคริสต์ นี่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของจดหมายเปาโล แนวคิดนี้คงก่อตัวขึ้นในช่วงที่ถูกจำคุก เขาชี้ให้เห็นว่าความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในคริสตจักร ทั้งระหว่างยิวกับต่างชาติในชีวิตสมรส ในครอบครัว และในที่ทำงานพระเจ้าจะใช้ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนี้ทำให้แผนการของพระองค์บรรลุผลสำเร็จ

6. ฟีลิปปี

ฉบับนี้เต็มไปด้วยความรักและความปีติยินดี

เนื้อเรื่อง

คำทักทาย ขอบคุณ อธิษฐาน 1:1-11

ประสบการณ์และความหวัง 1:12-26

ดำเนินชีวิตแบบพระเยซู 1:27-2:18

เพื่อนสองคนของเปาโล 2:19-30

คุณประโยชน์และไร้ประโยชน์ 3

คำกำชับและคำขอบคุณ 4:1-20

คำอวยพร 4:21-23

เวลาที่เขียนและผู้รับจดหมาย

ฟีลิปปีเป็นคริสตจักรแรกที่เปาโลตั้งขึ้นในยุโรป ดูเหมือนลูกาเพื่อนร่วมทางเปาโล ใกล้ชิดคริสตจักรนี้มาก ฟีลิปปีเป็นเมืองโรมันทางเหนือของกรีซ เชื่อกันว่าฉบับนี้เขียนขึ้นขณะเปาโลถูกจำคุกในโรมราวค.ศ.62 หรือ ค.ศ. 54 ที่เขาถูกจำคุกที่เอเฟซัส

ข้อความที่มีชื่อเสียง

‘พระองค์ผู้ตั้งต้นการดีไว้ …จะทรงกระทำให้สำเร็จ’ 1:4-16

‘การมีชีวิตอยู่ก็เพื่อพระคริสต์’ 1:20-24

ความถ่อมพระทัย-ความยิ่งใหญ่ 2:5-11

คุณประโยชน์และไร้ประโยชน์ 3:4-11

หลักชัยและรางวัล 3:12-14

สันติสุขของพระเจ้า 4:4-7

‘สิ่งที่น่านับถือ…’ 4:8

เข้มแข็งในพระคริสต์ 4:11-13

ใจความสำคัญ

เปาโลมีเหตุผลพิเศษที่เขียนฉบับนี้: เพราะเขาได้รับของขวัญจากคริสเตียนชาวฟีลิปปีและอยากฝากฝังเอปาโฟรดิทัส ทั้งยังฉวยโอกาสชื่นชมในความเติบโตของพวกเขา แม้เปาโลรู้ดีว่าความตายคืบคลานมาใกล้แต่คำ “ชื่นชมยินดี” ปรากฏในฉบับนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า การที่ความตายเฉียดเข้ามานี้ทำให้เปาโลทบทวนลำดับความสำคัญก่อนหลังในชีวิตอีกครั้ง และยึดมั่นในสิ่งสำคัญที่สุด

7. โคโลสี

จุดใหญ่คือความยิ่งใหญ่สุงสุดของพระเยซู ซึ่งมีผลกระทบถึงทุกสิ่งที่เปาโลเขียน

เนื้อเรื่อง

คำทักทายและขอบคุณ 1:1-8

ความสูงสุดของพระคริสต์ 1:9-2:10

ความผิดพลาดในคริสตจักร 2:11-19

ชีวิตใหม่ในพระคริสต์ 2:20-4:6

คำอวยพร 4:7-18

เวลาที่เขียนและผู้รับจดหมาย

เปาโลเขียนในช่วงถูกจำจองที่โรมราวค.ศ. 62 พร้อมกับเอเฟซัส ฟีลิปปี และฟีเลโมน เขาไม่เคยไปโคโลสีซึ่งไกลทะเลกว่าเอเฟซัส(สองเมืองนี้อยู่ทางตะวันตกของตุรกี) แต่เปาโลรู้ข่าวคริสตจักรจากเอปาฟรัสผู้ก่อตั้ง ซึ่งอาจรับเชื่อในช่วงที่เปาโลอยู่ที่เอเฟซัส

ข้อความที่มีชื่อเสียง

ความยิ่งใหญ่ของพระคริสต์ 1:15-20

‘ท่านรับการทรงชุบให้เป็นขึ้นมาด้วยกันกับพระคริสต์แล้ว’ 3:1-4

ไม่ว่าทำสิ่งใด จงทำด้วยเต็มใจเหมือนทำให้องค์พระผู้เป็นเจ้า 3:23-24

ใจความสำคัญ

ขณะถูกจำจองที่โรม เปาโลครุ่นคิดถึงแต่ความยิ่งใหญ่ของพระคริสต์ซึ่งเป็นใจความสำคัญของทั้งเอเฟซัสและโคโลสี ในฉบับนี้ เขามีเหตุผลพิเศษในการจดจ่ออยู่กับเรื่องนี้ เพราะเอปาฟรัสบอกเขาถึงความผิดมหันต์ของคริสเตียนโคโลสี ผู้คิดว่าตนมีความรู้ล้ำลึก ซึ่งลดความสำคัญในการเป็น ‘ผู้กลาง’ แต่ผู้เดียวระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ของพระเยซู พวกเขาจึงตกเป็นทาสกฎเกณฑ์

เปาโลมิได้โต้แย้งในรายละเอียด แต่ยืนยันว่า พระเยซูคริสต์ผู้เดียวเพียงพอจะนำเราคืนดีกับพระเจ้า และทรงชี้ทางชีวิตให้เรา’เพราะว่าในพระองค์นั้นสภาพของพระเจ้าดำรงอยู่อย่างบริบูรณ์’ (2:9)

8. 1 เธสะโลนิกา

น้ำเสียงเปาโลเต็มด้วยการหนุนน้ำใจเพราะได้รับความชูใจจากความเชื่อของพวกเขาจึงหนุนใจพวกเขาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

เนื้อเรื่อง

คำทักทาย 1:1

เปาโลหนุนใจคริสเตียน 1:2-3:13

ความประพฤติของคริสเตียน 4:1-12

เตรียมรับการเสด็จกลับมา 4:13-5:11

คำกำชับและอวยพร 5:12-28

เวลาที่เขียนและผู้รับจดหมาย

ในการเดินทางครั้งที่ 2 เปาโล สิลาส ทิโมธี ไปเธสะโลนิกา เมืองหลวงของมาซิโดเนีย แต่อยู่ได้ไม่นานเพราะถูกขับไล่ เปาโลไม่รู้ข่าวผู้กลับใจจากคำเทศนาของเขาจนทิโมธี ได้นำข่าวดีมาบอกที่โครินธ์ใน ค.ศ. 50-51 เขาเขียนจดหมายนี้ทันที ซึ่งอาจเป็นฉบับแรกสุดของเขา ถ้ากาลาเทียเขียนขึ้นทีหลัง

ข้อความที่มีชื่อเสียง

ความจงรักภักดีใหม่ 1:9-10

พระคริสต์จะเสด็จกลับมาแน่ 4:15-18

คำอวยพร 5:23-24

บทเรียนสอนใจ

ข่าวดีที่ว่าคริสเตียนเธสะโลนิกาเติบโตเร็วในพระคริสต์หลังจากได้รับคำสอนแค่ระยะสั้น ๆ นำความยินดีมาให้เปาโล เปาโลย้ำให้ทำยิ่งๆ ขึ้นไป พวกเขามีคำถามสำคัญ คือ พระเยซูจะเสด็จกลับมาอีกในลักษณะไหน ซึ่งเป็นหลักคำสอนของคริสตจักรสมัยแรก เปาโลอ้างถึงคำสอนของพระเยซูในเรื่องนี้ และห้ามไม่ให้พวกเขาเดาสุ่ม ทั้งยังแนะนำให้รักษาชีวิต’ให้ปราศจากการติเตียนจนถึงวันที่พระเยซูคริสตเจ้าของเราเสด็จมา’ (5:23) ไม่ว่าจะเป็นเมื่อไรก็ตาม

9. 2 เธสะโลนิกา

คริสเตียนเธสะโลนิการเข้าใจผิดในสิ่งที่เปาโลเขียนถึงการเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระคริสต์ในฉบับแรก เขาจึงเขียนอีกฉบับหนึ่ง เพื่อให้รายละเอียดของสิ่งที่จะเกิดขึ้น

เนื้อเรื่อง

คำทักทาย คำชมเชยคริสเตียน 1

ยุคชั่วร้ายก่อนวันเสด็จกลับ 2:1-12

เปาโลย้ำให้มั่นใจอีกครั้งหนึ่ง 2:13-3.5

ความประพฤติของคริสเตียน 3:6-15

เซ็นชื่อรับรอง 3:16-18

บทเรียนสอนใจ

เปาโลอาจเขียนหลังฉบับแรกไม่นาน (ดูเวลาที่เขียน 1 เธสะโลนิกา) ดูเหมือนคริสเตียนที่นั่นสับสนกับการเสด็จกลับมาของพระเยซู ซึ่งอาจเป็นผลจากจดหมายปลอมของพวกตกขอบ(2:2) ที่คิดว่าพระคริสต์เสด็จกลับมาแล้ว แต่เปาโลอธิบายว่ายุคชั่วร้าย (โดยเฉพาะ’คนนอกกฎหมายนั้น’) ต้องมาก่อนเขาย้ำอีกว่า คริสเตียนที่คอยพระคริสต์กลับจำต้องรักษาชีวิตไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง

10. 1 ทิโมธี

ตอนแรกที่เปาโลเลือกทิโมธีร่วมงาน เขายังเป็นหนุ่มขี้อาย แต่บัดนี้เขามีหน้าที่การงานมากมาย ฉบับนี้ชี้ว่าเขาเป็นผู้นำคริสตจักรเอเฟซัส เปาโลจึงแนะนำและหนุนใจเขาเรื่องการรับใช้พระเยซูคริสต์

เนื้อเรื่อง

คำทักทาย 1:1-2

คำสอนเท็จ 1:3-11

เปาโลกับทิโมธี 1:12-20

อธิษฐานและนมัสการ 2

ผู้นำคริสตจักร 3

วีธีเผชิญกับคำสอนเท็จ 4

รับใช้คนทุกประเภท 5:1-6:2

ความมั่นคงอันแท้จริง 6:3-10

คำกำชับส่วนตัว 6:11-21

เวลาที่เขียน

1,2 ทิโมธีและทิตัสได้ชื่อว่า’ จดหมายของศิษยาภิบาล’ ซึ่งมีหัวข้อและลีลาการเขียนคล้ายคลึงกัน เหตุการณ์บางอย่างที่พาดพิงถึงไม่ค่อยตรงกับในกิจการ เพราะจดหมายเหล่านี้พูดเป็นนัยว่าเปาโลถูกปล่อยตัวจากการถูกกักบริเวณที่โรมและเดินทางประกาศต่อ แล้วถูกจับอีก (เหตุการณ์ใน 2 ทิโมธี) บางคนจึงคิดว่าเปาโลมิได้เขียนฉบับเหล่านี้ แต่ผู้อื่นเขียนขึ้นภายหลัง โดยใช้งานเขียนของเปาโล แต่คำสอนในจดหมายเหล่านี้สอดคล้องกับฉบับอื่น ๆ ของเปาโล

ข้อความที่มีชื่อเสียง

‘พระเยซูได้เสด็จเข้ามาในโลกเพื่อจะได้ทรงช่วยคนบาปให้รอด’ 1:15-16

การรู้จักพอ-ยำเกรงพระเจ้าเป็นพร 6:6

การักเงินทองเป็นรากแห่งความชั่ว 6:10

ใจความสำคัญ

ผู้นำคริสตจักรมักเห็นคุณค่าจดหมายศิษยาภิบาลเป็นพิเศษ ซึ่งมุ่งเน้นบุคลิกภาพผู้รับใช้พระเจ้า และสอนถึงการวางตัวอันเหมาะสมกับคนทุกกลุ่มในคริสตจักร ผู้เขียนยังแนะวิธีดีที่สุดในการยับยั้งคำสอนเท็จคือให้สอนหลักข้อเชื่อคริสเตียนอย่างครบถ้วน

11. 2 ทิโมธี

ขณะคอยความตายที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกนาที เปาโลหนุนใจทิโมธีให้พากเพียรในการรับใช้โดยดูชีวิตของเปาโลเองเป็นตัวอย่าง

เนื้อเรื่อง

คำทักทาย 1:1-2

‘ข้าพเจ้าขอบพระคุณพระเจ้า’ 1:3-18

ผู้รับใช้ของพระคริสต์ 2

ยามทุกข์ลำบากที่จะมาถึง 3

คำกำชับและคำอวยพร 4

เวลาที่เขียน

ถ้าเปาโลเป็นผู้เขียน นี่ก็เป็นฉบับสุดท้านของเขา เวลานั้นเขาถูกจองจำที่โรม และเล่ากันว่าเขาถูกประหารที่นั่น ซึ่งเป็นช่วงที่จักรพรรดินีโรข่มเหงคริสเตียนราว ค.ศ. 64

ข้อความที่มีชื่อเสียง

‘ พระเจ้าทรงประทานจิตที่…’ 1 :7

พระคัมภีร์ทุกตอนได้รับการดลใจ 3:15-17

‘ข้าพเจ้าได้ต่อสู้อย่างเต็มกำลัง… ‘ 4:6-8

บทเรียนสอนใจ

ตลอดเวลาที่เปาโลรับใช้พระคริสต์ เขาต้องฝ่าฟันมากมาย แต่เขาเล็งเห็นว่าผู้รับใช้พระเจ้ารุ่นหลังรวมทั้งทิโมธีจะต้องเผชิญภาระหนักยิ่งกว่านั้น ทว่าเขามิได้เสียใจที่มารับใช้พระเจ้า แถมจิตใจยังเต็มไปด้วยการขอบพระคุณ คำแนะนำที่ให้ทิโมธีทั้งลึงซึ้งฝ่ายวิญญาณและใช้การได้ดีทีเดียว

12. ทิตัส

เขียนถึงผู้นำคริสตจักรครีต หลังยุคอัครทูตคริสตจักรใหม่ๆ จะเติบโตแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของผู้นำ เปาโลจึงให้คำแนะนำแก่ทิตัสอย่างสุดความสามารถ

เนื้อเรื่อง

คำทักทาย 1:1-4

ผู้นำประเภทที่คริสตจักรต้องการ 1 : 5-16

สอนอะไรและอย่างไร 2

ความประพฤติของคริสเตียน 3 :1-11

คำกำชับสุดท้าย 3 :12-15

เวลาที่เขียน

ทิตัสเป็นหนึ่งในจุดหมายศิษยาภิบาล แต่ไม่ใช่ฉบับล่าสุดที่เขียนขึ้น (ดู 1 ทิโมธี)

ข้อความที่มีชื่อเสียง

ข่าวประเสริฐโดยสังเขป 3 : 4-7

บทเรียนสอนใจ

ฉบับนี้เน้นคุณสมบัติ-ภารกิจผู้นำคริสตจักรเช่นเดียวกับ 1 ,2 ทิโมธี ในคำสอนที่ถี่ถ้วนนี้ เราพบข้อความอันชัดเจนงดงามเกี่ยวกับข่าวประเสริฐที่เปาโลประกาศ (3:4-7 )

13. ฟีเลโมน

เอปาฟรัสอาจถือจดหมายสั้นๆ และเป็นส่วนตัวฉบับนี้พร้อมกับจดหมายโคโลสีขณะกลับจากการไปเยี่ยมเปาโลที่ถูกกักบริเวณในโรม

ฟีเลโมนเป็นผู้นำของคริสตจักรโคโลสีโอเนสิมัสทาสของเขาหนีไปโรม และกลับใจเมื่อพบเปาโล เปาโลส่งตัวเขากลับพร้อมกับจดหมายที่เต็มไปด้วยความห่วงใย และฉลาดฉบับนี้ เปาโลฝากเขากับนายเก่าผู้ใจกว้างในฐานะเป็นพี่น้องคริสเตียนด้วยกัน

เปาโลไม่เคยประณามระบบทาสอย่างโจ่งแจ้งเพราะเรื่องนี้แพร่ทั่วอาณาจักรโรมัน แต่มักพูดเป็นนัย ๆ ว่าระบบนี้ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะฉบับนี้ เราจะกุมชีวิตผู้อื่นอย่างไรได้ ยิ่งเป็นคริสเตียนด้วยแล้วยิ่งไม่สมควรทำ

14. ฮีบรู

ใจความของฮีบรูคือพระเยซูได้ทำให้เรื่องที่เริ่มในพันธสัญญาเดิมนั้นบรรลุผลสมบูรณ์เล่มนี้เต็มด้วยข้ออ้างอิงจากพันธสัญญาเดิม

เนื้อเรื่อง

บทนำ: การเปิดเผยอันครบถ้วน 1:1-3

ภาค 1: พระเยซูยิ่งใหญ่ที่สุด 1:4-10:39

พระเยซูยิ่งใหญ่กว่าทูตสวรรค์ 1:4-14

พระเยซูได้เปิดทางแห่งความรอด 2

พระเยซูยิ่งใหญ่กว่าโมเสส 3:1-4:13

พระเยซูมหาบุโรหิตผู้ยิ่งใหญ่ 4:14-7:28

พระเยซูให้พันธสัญญาอันยิ่งใหญ่กว่าและเป็นเครื่องบูชาที่ประเสริฐกว่า 8-10

ภาค 2: ความเชื่อและความเพียร 11-12

วีรบุรุษแห่งความเชื่อในพันธสัญญาเดิม 11

ทนต่อการตีสอนของพระเจ้า 12:1-11

แผ่นดินที่ไม่มีวันสั่นคลอน 12:12-29

บทสรุป: คำกำชับ อธิษฐานและอวยพร 13

ผู้เขียน เวลาที่เขียน และผู้รับ

นี่เป็นเล่มลี้ลับเพราะไม่รู้ชื่อผู้เขียน หลายร้อยปีที่ผ่านมาเชื่อกันว่าเปาโลเป็นผู้เขียน แต่ปัจจุบันไม่คิดอย่างนั้น เนื่องจากลีลาการเขียนและแนวคิดต่างจากของเปาโลมาก แม้จะมีทฤษฏีที่น่าสนใจหลายอย่าง แต่ก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่าใครเป็นผู้เขียน

เห็นได้ชัดว่าเขียนถึงคริสเตียนยิว แต่พวกเขาอาศัยอยู่ทีไหนกัน มีเค้าว่าไม่ใช่ในเยรูซาเล็ม บางคนว่าโรม ทว่ายังไม่แน่ชัด

มีปัจจัยหนึ่งชี้ว่าอาจเขียนขึ้นในคริสตจักรสมัยแรกเพราะไม่ได้กล่าวถึงเรื่องที่ชาวโรมันทำลายพระวิหารในค.ศ. 70 ซึ่งตามหัวข้อในเล่มนี้ย่อมต้องกล่าวถึงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ถ้าเหตุการณ์นั้นได้เกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเล่มนี้อาจเขียนขึ้นก่อนหน้นนั้น

ข้อความที่มีชื่อเสียง

พระเยซู: การสำแดงสุดท่าย 1:1-3

มหาปุโรหิตผู้เห็นใจเรา 4:14 –16

พระเยซู: เครื่องบูชายิ่งใหญ่ 10:11-14

‘โดยความเชื่อ…’ 11

พระเยซูเป็นผู้บุกเบิกความเชื่อและทรงทำให้ความเชื่อของเราสมบูรณ์ 12:1-3

พระเยซูคริสต์ทรงเหมือนเดิม 13:8

ผู้เลี้ยงแกะที่ยิ่งใหญ่ 13:20-21

ใจความสำคัญ

คริสเตียนยิวที่ได้รับจดหมายนี้กำลังเผชิญการข่มเหง และคิดกลับไปถือศาสนายิวอีก ผู้เขียนเกลี้ยมกล่อมให้สู้ต่อไป โดยชี้ว่าพระเยซูยิ่งใหญ่กว่าทุกสิ่งที่ระบุในพันธสัญญาเดิม แท้จริงพระเยซูได้ทำให้ทุกสิ่งที่พันธสัญญาเดิมเล็งถึงนั้นบรรลุผล ผู้เขียนยังยกวีรบุรุษแห่งความเชื่อในพันธสัญญาเดิมมาเป็นตัวอย่างว่าเขาเหล่านั้นต่างทุกข์ทรมารและพระเยซูเองก็ทนทุกข์ทรมารและพระเยซูเองก็ทนทุกข์ยิ่งกว่าใครหมด ถ้าปฏิเสธพระคริสต์จะถูกพิพากษา ฉบับนี้เชื่อมพันธสัญญาใหม่กับเดิมอย่างกลมกลืน และย้ำถึงความเป็นเอกภาพของพระคัมภีร์

15. ยากอบ

เน้นถึงความสำคัญที่คริสเตียนจำเป็นต้องมีมาตรฐานสูงด้านความประพฤติ คล้ายคลึงกับคำเทศนาบนภูเขามากกว่าเล่มอื่นด ๆ ในพันธสัญญาใหม่ และเป็นเสียงสะท้อนของสุภาษิตในพันธสัญญาเดิม

เนื้อเรื่อง

ต้องประพฤติตามด้วย ไม่ใช่ดีแต่พูด 1

ไม่ควรลำเอียง 2:1-13

ความเชื่อกับการประพฤติ 2:14-26

ควบคุมลิ้น 3:1-12

สติปัญญาจากเบื้องบน 3:13-18

วิถีทางของพระเจ้า ไม่ใช่ของโลก 4:1-5:6

อดทนและอธิษฐาน 5:7-20

ผู้เขียนและผู้รับ

เขียนถึง ‘คนสิบสองเผ่าที่กระจัดกระจายอยู่นั้น’(1:1) ไม่รู้แน่ชัดว่าฉบับนี้ใช้ในโอกาสอะไร อาจเขียนขึ้นกลางศตวรรษที่ 1

ทั้งไม่รู้ว่าผู้เขียนคือยากอบคนไหนแน่ แต่คาดว่าเป็นยากอบน้องชายพระเยซูผู้นำคริสตจักรเยรูซาเล็มที่กล่าวในกิจการ เขาเห็นพระเยซูหลังคืนพระชนม์ (1 โครินธ์)

ข้อความที่มีชื่อเสียง

การฟังกับการลงมือทำ 1:22-25

ความเชื่อกับความประพฤติ 2:26

ปัญญาที่มาจากพระเจ้า 3:17-18

อธิษฐานด้วยความเชื่อ-หายโรค 5:14-16

ใจความสำคัญ

เน้นว่าความจริงจังกับพระเจ้าควรส่งผลถึงชีวิตทุกด้าน คริสเตียนไม่ควรตีสองหน้าแต่ควรคงเส้นคงวาทั้งในการอธิษฐาน การเชื่อฟังคำสอน มิใช่แค่ฟังเป็นความรู้ในสมองแต่ควรออกมาทางการประพฤติ ควรควบคุมลิ้นและเลี่ยงความอยุติธรรมทางสังคมและเงินทาอง ใน 5:14-16 กล่าวสั้นๆ แต่มีพลังเกี่ยวกับการหายโรคของคริสเตียน

16. 1 เปโตร

เตรียมใจคริสเตียนให้พร้อมกับการข่มเหงที่จะมาถึง เล่มนี้เต็มด้วยความหวังกำลังใจ

เนื้อเรื่อง

คำนำ 1:1-2

ความเชื่อ ความหวัง ชีวิตที่ดี 1:3-2:3

คนที่ถูกเลือกสรร 2:4-10

ตัวอย่างการทนทุกข์ของพระเยซู 2:11-25

ภรรยากับสามี 3:1-7

ทนทุกข์เพราะความดี 3:8-4:19

กำชับคนของพระเจ้า 5:1-11

คำอวยพร 5:12-14

ผู้เขียนและเวลาที่เขียน

เปโตรอาจเขียนที่โรม(‘บาบิโลน’ 5:13) ในช่วงนี้โรข่มเหงคริสเตียนในค.ศ. 64 เพื่อส่งไปให้คริสเตียนในตุรกีภาคเหนือ-ตะวันตก

ใจความสำคัญ

ฉบับนี้เต็มด้วยความชื่นชมยินดีในความเป็นคริสเตียนซึ่งความทุกข์มิอาจทำให้สั่นคลอนได้ เขามั่นใจในเรื่องที่พระเยซูสิ้นพระชนม์ ทรงคืนพระชนม์และจะเสด็จกลับมาอีกครั้ง ทั้งเชื่อมั่นว่า ความทุกข์เป็นดุจเบ้าหลอมที่หล่อหลอมความเชื่อให้บริสุทธิ์ เขาไม่เพียงแต่ห่วงใยในเรื่องที่คริสเตียนต้องสู้ทนความทุกข์เท่านั้น แต่กำชับให้ฉวยโอกาสหยั่งรากลึงลงในชีวิตฝ่ายวิญญาณด้วย

17. 2 เปโตร

เขียนเพื่อต่อต้านคำสอนเท็จที่ว่าคริสเตียนไม่จำเป็นต้องดำเนินตามหลักจริยธรรม และพระเยซูคริสต์จะไม่เสด็จกลับมาอีก

เนื้อเรื่อง

รู้จักพระเจ้าและพระดำรัสของพระองค์ 1

ผู้สอนเทียมเท็จ 2

พระคริสต์จะเสด็จกลับมาแน่นอน 3

ผู้เขียนและเวลาที่เขียน

ระบุว่าผู้เขียนคือซีโมน เปโตร แต่บางคนสงสัยว่ามิใช่อัครทูตเปโตร และทึกทักว่าเขียนขึ้นหลังปลายศตวรรษที่ 1 เพราะสังเกตว่าลีลาการเขียนและแนวคิดต่างจาก 1 เปโตรมาก คริสตจักรยุคแรกใช้เวลานานกว่าจะยอมรับฉบับนี้ บทที่ 2 ของ 2 เปโตร เหมือนกับยูดา แต่ข้อความใน 1:16-18 ที่พาดพิงถึงการจำแลงพระกายของพระเยซูยืนยันว่าเปโตรเป็นคนเขียน

บทเรียนสอนใจ

เน้นให้รู้จักพระเจ้าและดำเนินชีวิตสมกับเป็นคนที่คอยการเสด็จกลับมาของพระเยซู ซึ่งเป็นเสมือนยาแก้พิษคำสอนเท็จที่ทำลายความเชื่อคริสเตียนผู้รับจดหมายฉบับนี้

18. 1 ยอห์น

เขียนถึงคริสเตียนที่สับสนกับคำสอนเท็จและช่วยให้มั่นใจมากขึ้นโดยแนะนำวิธีทดสอบชีวิตคริสเตียนแท้สามประเด็นด้วยกัน

เนื้อเรื่อง

ใจความสำคัญ 1:1-4

วิธีทดสอบสองอย่างแรก: ดำเนินในความสว่างและรักพี่น้อง 1:5-2:17

วิธีการทดสอบอย่างที่สาม: เชื่อว่าพระเยซูเป็นทั้งพระเจ้าและมนุษย์ 2:18-4:21

ชัยชนะของความเชื่อ 5:1-12

คำกำชับ 5:13-21

ผู้เขียนและเวลาที่เขียน

แนวคิดและวิธีการโต้แย้งคล้ายพระกิตติคุณยอห์นมาก จึงเชื่อกันว่าอัครทูตยอห์นเป็นผู้เขียน แต่ไม่รู้ชัดว่าเล่มไหนเขียนขึ้นก่อนกัน และผู้รับจดหมายเป็นใคร

ข้อความที่มีชื่อเสึยง

เดินในความสว่าง 1:5-10

ความรักของพระเจ้าและของเรา 4:7-12

ชีวิตทางพระบุตรของพระเจ้า 5:10-12

ใจความสำคัญ

ช่วยคริสเตียนให้มีความเชื่อมั่นคง(5:3) คำสอนเท็จมักทำให้สับสนเสมอ ยอห์นใหครให้คริสเตียนมีความเชื่อชัดเจนทั้งในความคิดจิตใจ วิธีทดสอบสามอย่างในฉบับนี้ชี้ชัดถึงธาตุแท้ของคำสอนเท็จ ซึ่งใช้ได้ทุกสมัย ผู้ที่อ้างตัวเป็นคริสเตียนนั้นมีชีวิตบริสุทธิ์ซื่อตรงหรือเปล่า(1:5-10) เขาแสดงความรักแท้แบบคริสเตียนหรือเปล่า(4:7-12) และเชื่อว่าพระเยซูเป็นทั้งบุตรพระเจ้าและมนุษย์หรือเปล่า (4:2-3) โครงเรื่องมิได้เรียงลำดับขั้นตอนชัดเจนเหมือนพระกิตติคุณยอห์น ผู้เขียนระบุวิธีทดสอบสามอย่างจากแง่มุมต่างกันกลับไปกลับมา

19. 2 และ 3 ยอห์น

สองฉบับนี้เป็นเล่มที่สั้นที่สุดในพระคัมภีร์เห็นชัดว่าเป็นคนเดียวกับผู้เขียน 1 ยอห์นหนังสือ 2 ยอห์นเขียนถึง’ท่านสุภาพสตรีและบรรดาบุตรของท่าน’ ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่กล่าวถึง ‘คริสตจักรและสมาชิก’ เล่มนี้มุ่งเน้นเรื่องความรัก และพาดพิงถึงคำสอนเท็จเช่นเดียวกับ 1 ยอห์น ส่วน 3 ยอห์นเขียนถึงกายอัสผู้นำคริสตจักร เพื่อชมเชยเขาและตักเตือนเกี่ยวกับเรื่องคนในท้องถิ่นคนหนึ่งที่ชอบบงการและสร้างปัญหา

20. ยูดา

เขียนโดยยูดาน้องชายพระเยซู เพื่อหนุนใจคริสเตียนให้ต่อต้านผู้สอนเท็จ เนื้อความคล้าย 2 เปโตร บทที่ 2 อ้างอิงจากพันธสัญญาเดิมและวรรณกรรมยิวหลายเล่ม

21. วิวรณ์

เล่นนี้ต่างกับเล่มอื่นๆ ในพันธสัญญาใหม่นิมิตต่างๆ ล้วนให้ภาพชัดเจนถึงชัยชนะ สุดท้ายของพระเยซูคริสต์เหนืออำนาจทั้งหมดที่ต่อต้านพระเจ้า

เนื้อเรื่อง

บทนำ: นิมิตเรื่องพระคริสต์ทรงพระสิริ 1

ภาค 1: จดหมายถึงคริสตจักรทั้งเจ็ด 2-3

ภาค 2: นิมิตเรื่องการพิพากษา 4-20

การนมัสการในสวรรค์ 4

ตราทั้งเจ็ด 5:1-8:1

แตรทั้งเจ็ด 8:2-11:19

พญานาคกับอาณาจักรของมัน 12-13

พระเมษโปดกและการเสด็จกลับมา 14

ภัยพิบัติเจ็ดประการ 15-16

บาบิโลนล่มสลาย 17:1-19:4

พระคริสต์ผู้กำชัยชนะ 19:5-20:15

ภาค 3: นิมิตเรื่องสวรรค์ 21:1-22:5

ข้อสรุป: เชิญเสด็จมาเถิด 22:6-21

ผู้เขียนและเวลาที่เขียน

เขียนในช่วงที่คริสเตียนถูกข่มเหง อาจในสมัยจักรพรรดิโดมิเทียนปลายศตวรรษที่ 1 ผู้เขียนคือยอห์นซึ่งถูกคุมตัวที่เกาะปัทมอส ทะเลอีเจียน ส่วนใหญ่คิดว่าเป็นคนเดียวกับอัครทูตยอห์นที่เขียนพระกิตติคุณและจดหมาย 3 ฉบับ แต่อาจไม่ใช่ก็ได้

ข้อความที่มีชื่อเสียง

พระเยซูผู้ทรงสง่าราศี 1:12-18

พระเยซูเคาะประตูใจ 3:20

พระเจ้าทรงประทับบนพระที่นั่ง 4

เพลงของผู้ชนะ 15:2-4

สวรรค์และแผ่นดินใหม่ 21

‘ดาวประจำรุ่งอันสุกใส’ 22:16-17

ใจความสำคัญ

เป็นหนังสือทำนายอนาคต ใจความควรดึงจากภาพรวมๆ ของนิมิตทั้งหมดแทนที่จะจดจ่อที่รายละเอียดของแต่ละนิมิต ถ้อยคำที่ว่าพระเจ้าทรงมีอำนาจเด็ดขาดสูงสุดชูใจ คริสเตียนที่ถูกข่มเหงตลอดประวัติศาสตร์ไม่ว่าผู้ข่มเหงจะอำนาจมากสักแค่ไหนแต่พระเจ้าจำกัดวันเวลาไว้แล้ว เล่มนี้บ่งชี้ว่าพระคริสต์ยังคงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนของพระองค์โดยประทานคำเล้าโลมใจทั้งท้าทายและติเตียน ภาพสุดท้ายคือพระเยซูคริสต์ทรงพิชิตศัตรู แก้แค้นแทนคนของพระองค์ ความชั่วและความเจ็บปวดถูกขจัดออกไปอย่างสิ้นเชิง

เขียนโดย คุณโปรดปราน