ผู้พยากรณ์ใหญ่

บทนำ

หมวดใหญ่หมวดสุดท้ายของพันธสัญญาเดิมคือหมวดผู้พยากรณ์ ซึ่งประกอบด้วยหนังสือ 17 เล่ม และ 16 เล่มนั้นตั้งชื่อตามชื่อผู้พยากรณ์ที่กล่าวถ้อยคำเหล่านั้น (ยกเว้นเพลงคร่ำครวญ) อิสยาห์ เยเรมีย์ เอเสเคียล และดาเนียลล้วนได้ชื่อว่า ‘ผู้พยากรณ์ใหญ่’ ส่วนสิบสองคนที่เหลือได้ชื่อว่า ‘ผู้พยากรณ์น้อย’

อิสราเอลมีผู้พยากรณ์ตั้งแต่สมัยแรกโมเลสนั้นเป็นคนแรกสุดและยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดสมัยของผู้วินิจฉัยและกษัตริย์ มีผู้พยากรณ์ปรากฏอยู่ในเหตุการณ์เสมอ บางคนผ่านมาเพียงแวบเดียว แต่บางคนมีบทบาทสำคัญยิ่งเช่นเอลียาห์และเอลีชา

นอกจากโมเลสแล้ว เราไม่รู้ว่าพยากรณ์ก่อนศตวรรษที่ 8 กคศ. สอนเรื่องอะไรบ้าง แต่ตั้งแต่นั้นมาข่าวสารของอาโมสและโฮเชยาได้ถูกบันทึกไว้และยังหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน ตลอด 300 ปีต่อมามีผู้พยากรณ์ปรากฏในประวัติศาสตร์ของอิสราเอลอย่างไม่ขาดสายจนถึงสมัยที่เชลยยิวกับคืนถิ่นฐานเดิมจากบาบิโลน

เราไม่ทราบแน่ว่าผู้พยากรณ์แต่ละคนเขียนหนังสือเอง หรือคนที่ฟังเป็นผู้เขียนอย่างน้อยเยเรมีย์เองได้บันทึกคำสอนบางส่วนของเขาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่เนื้อหาของคำพยากรณ์อยู่ในรูปคำพูด

ผู้พยากรณ์เป็นคนของพระเจ้า ทำหน้าที่เป็นทูตของพระองค์ บางทีคนเหล่านี้จึงพูดราวกับว่าเป็นคำพูดของเขาเอง เช่น ‘เราบอกท่านทั้งหลายว่า…’ ผู้พยากรณ์รู้แก่ใจดีว่าเขาเป็นผู้ที่พระเจ้าทรงเรียก (ดูอิสยาห์ 6; เยเรมีย์ 1; เอเสเคียล 1-3) และได้รับการดลใจจากพระวิญญาณ พวกเขามักสื่อข่าวสารอย่างแจ่มชัดราวกับตาเห็นโดยใช้ภาพ ท่าทางประกอบหรือนิมิต

ในปัจจุบันคำ ‘พยากรณ์’ หมายถึงการทำนายเรื่องในอนาคต และผู้พยากรณ์ในพันธสัญญาเดิมได้ทำนายเหตุการณ์อย่างถูกต้องจริง ๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับพระเมสสิยาห์ แต่ข่าวสารที่ผู้พยากรณ์กล่าวถึงนั้นเกี่ยวข้องกับ ‘ปัจจุบัน’ ด้วย เพราะหน้าที่ของพวกเขาคือเรียกร้องให้ชนชาติอิสราเอลหวนคืนสู่วิถีทางของพระเจ้าและไว้วางใจในพระองค์เพียงผู้เดียว จึงสำคัญยิ่งที่เราควรรู้สถานการณ์ของสมัยผู้พยากรณ์เพื่อจะได้เข้าใจข่าวสารของเขาอย่างชัดแจ้งและได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่

1. อิสยาห์

พยากรณ์เหตุการณ์สำคัญในช่วงกว่า 200 ปีของประวัติศาสตร์อิสราเอลจากแง่ของพระเจ้าผู้พิพากษาและฟื้นฟูอิสราเอล

เนื้อเรื่อง

ภาค 1: อัสซีเรียมาข่มขู่ 1-39

พระดำรัสสำหรับยูดาห์และเยรูซาเล็ม 1-5

อิสยาห์เห็นนิมิต 6

อาณาจักรปัจจุบันและอนาคต 7-12

การพิพากษาประชาชาติ 13-23

การพิพากษาสุดท้ายของพระเจ้า 24-27

เตือนเรื่องการพิพากษาและพระพร 28-35

วิกฤตกาล 36-39 (คล้าย 2 พกษ. 18-20)

ภาค 2 : พระสัญญาต่อเชลย 40-55

ใกล้จะได้รับอิสรภาพ 40-48

ผู้รับใช้และการไถ่ 49-55

ภาค 3 : เชลยคืนถิ่น 56-66

เรียกอิสราเอลกลับใจและฟื้นฟูใหม่ 56-59

พระสิริที่จะมาถึง 60-62

เอโดมจะถูกพิพากษา 63:1-6

อธิษฐานเพื่อคนของพระเจ้า 63:7-64:12

ฟ้าสวรรค์และโลกใหม่ 65-66

ผู้พยากรณ์

อิสยาห์พยากรณ์กว่า 40 ปีในเยรูซาเล็มได้รับการทรงเรียกในปีที่กษัตริย์อุสซียาห์สิ้นพระชนม์(บทที่ 6) เขาทำงานในรัชกาลโยธาม อาหัสจนถึงเฮเซคียาห์ สามารถโน้มน้าวกษัตริย์ให้ฟังคำพยากรณ์ของเขาได้

เนื่องจากมีสาวกกลุ่มหนึ่งติดตามอิสยาห์ (8:16) บางคนจึงคิดว่าคำพยากรณ์ที่กล่าวถึงการเป็นเชลยในบาบิโลนและกลับคืนสู่เยรูซาเล็ม (40-66) นั้นเขียนโดยผู้สืบทอดจากอิสยาห์ แต่ไม่ว่าจะเป็นใครเนื้อความขอบคำพยากรณ์และนิมิตเรื่องพระเจ้าสอดคล้องต้องกันตลอดทั้งเล่ม

ช่วงเวลาและสถานการณ์

อิสยาห์ทำงานหลายสิบปีปลายศตวรรษที่ 8 และอาจถึงต้นศตวรรษที่ 7 กคศ.อาโมสพยากรณ์ในอาณาจักรเหนือก่อนหน้านี้ โฮเชยาทำงานที่สะมาเรียในช่วงแรกของอิสยาห์ ตลอดเวลาเหล่านี้อัสซีเรียข่มขู่ยูดาห์มาตลอด และในรัชกาลเฮเซคียาห์ เยรูซาเล็มเกือบเสียทีอัสซีเรีย แล้วใน 586 กคศ. เยรูซาเล็มก็ตกเป็นของบาบิโลน และคนส่วนใหญ่ถูกต้อนไปเป็นเชลย บทที่ 40-55 บรรยายถึงเหตุการณ์นี้ หลายสิบปีต่อมาเชลยได้กลับบ้านและกอบกู้ประเทศขึ้นใหม่ บทท้าย ๆ อาจพาดพึงถึงช่วงนี้

ข้อความที่มีชื่อเสียง

นิมิตและการทรงเรียกอิสยาห์ 6 ‘อิมมานูเอล’ 7:13-16 มีบุตรชายคนหนึ่งประทานมาให้เรา 9:2-7 กษัตริย์องค์ใหม่เป็นเชื้อสายเจสซี 11:1-9 ‘เรามีเมืองเข้มแข็งเมืองหนึ่ง’ 26:1-9 ‘ทะเลทรายจะเปรมปรีดิ์’ 35 ‘จงเล้าโลมชนชาติของเรา’ 40:1-31 ผู้รับใช้ของเรา 42:1-4; 4-:1-6; 50:4-9 ผู้คุ้นเคยกับความเจ็บไข้ 52:13-53:12 ‘ผู้นำข่าวดีมา’ 52:7-12 ‘ทุกคนที่กระหาย จงมา…’55 พระเมสสิยาห์’นำข่าวดีมา’ 61:1-4 ฟ้าสวรรค์และโลกใหม่ 65:17-25

ใจความสำคัญ

นิมิตรใหญ่ยิ่งเกี่ยวกับพระเจ้าที่อิสยาห์เห็นในบทที่ 6 เป็นหัวใจของเนื้อหาทั้งหมดนั้นหลักใหญ่ใจความคือความยิ่งใหญ่สูงส่งของพระเจ้า ‘ผู้บริสุทธิ์’ อิสราเอลจำต้องพึ่งพิงพระองค์แต่ผู้เดียว และอิสยาห์ต้องเตือนคนที่หลงเจิ่นถึงการพิพากษาของพระองค์ผู้พร้อมจะให้อภัย เล่มนี้เต็มไปด้วยพระสัญญาเกี่ยวกับพระเมสสิยาห์ที่จะมา และการกู้ชาติในอนาคต

2. เยเรมีย์

เยเรมีย์พยากรณ์ในห้ารัชกาลสุดท้ายของยูดาห์: เหตุการณ์ที่ส่งผลให้เยรูซาเล็มตกอยู่ในกำมือของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์แห่งบาบิโลน เนื่องจากเยเรมีย์เป็นคนไวต่อความรู้สึก จึงอึดอัดใจที่จะพยากรณ์ถึงการพิพากษาของพระเจ้า แต่คำพยากรณ์ทั้งหมดของเขาได้กลายเป็นความจริง

เนื้อเรื่อง

บทนำ: พระเจ้าเรียกให้เป็นผู้พยากรณ์ 1

ภาค 1 : พยากรณ์ถึงยูดาห์ 2:1-25:14

รัชกาลโยสิยาห์ 2-6

รัชกาลเยโฮยาคิม 7-20

รัชกาลเศเดคียาห์ 21:1-25:14

ภาค 2 : เยเรมีย์กับพระสัญญา 26-45

เยเรมีย์ถูกต่อต้าน 26-28

จดหมายถึงเชลยที่บาบิโลน 29

เชลยคืนถิ่นและพันธสัญญาใหม่ 30-31

ความหวังสำหรับอนาคต 32-33

เหตุการณ์ในชีวิตเยเรมีย์ 34-45

ภาค 3 : พระเจ้าจะพิพากษาประชาชาติ 46-51(25:15-38 ด้วย)

บทส่งท้าย: เยรูซาเล็มแตก 52 (ไม่ได้เขียนตามลำดับเหตุการณ์)

ผู้พยากรณ์

เยเรมีย์เกิดในตระกูลปุโรหิตที่อานาโธทใกล้เยรูซาเล็ม ได้รับการทรงเรียกให้เป็นผู้พยากรณ์ใน 627 กคศ. เขาเริ่มทำงานในรัชกาลโยสิยาห์ซึ่งเป็นยุคที่ยูดาห์หันมาหาพระเจ้า แต่ความหายนะประดังเข้ามาเมื่อบาบิโบนเรืองอำนาจและกษัตริย์ยูดาห์กลับไปเข้าข้างอียิปต์ ในที่สุดเยรูซาเล็มแตก เยเรมีย์ถูกชาวยิวบังคับให้หนีไปอียิปต์ การที่เขายืนยันถึงการพิพากษาของพระเจ้า อย่างไม่ลดละทำให้คนยิวเกลียดชังเขา จนจิตใจเข้าว้าวุ่น แต่บารุคเพื่อนผู้สัตย์ซื่อได้จดคำพยากรณ์ของเขาไว้ ผู้พยากรณ์ในสมัยเดียวกับเยเรมีย์ได้แก่เศฟันยาห์ และเอเสเคียลผู้อยู่ในกลุ่มเชลยกลุ่มแรกที่ถูกจับไปบาบิโลน

คำพยากรณ์ของเยเรมีย์มีหลายรูปแบบ เช่น บทกวี ร้อยแก้ว อุปมา บางทีมีท่าทางประกอบ ซึ่งติดหูติดตาอาจไม่อาจลืมได้เลย

ข้อความที่มีชื่อเสียง

พระเจ้าเรียกเยเรมีย์ 1:1-19 ‘คนที่…ได้รับพระพร’ 17:7-8 จิตใจเป็นตัวล่อลวง 17:9 เยเรมีย์โอดครวญ 20:7-18 ผู้พยากรณ์เท็จหรือจริง 23:15-32 พันธสัญญาใหม่ 31:31-34

ใจความสำคัญ

หลักใหญ่ใจความคือการพิพากษาที่จะมาถึง ถ้าเรายังขืนทำบาปและไหว้รูปเคารพอยู่การอ้างถึงการพิทักษ์รักษาของพระเจ้าก็ไร้ประโยชน์ เยเรมีย์ย้ำแล้วย้ำอีกว่าเยรูซาเล็มต้องแตก แต่ยังมีความหวังสำหรับอนาคต คือ เชลยจะได้กลับบ้านและพระเจ้าจะทำพันธสัญญาใหม่โดยจารึกลงในจิตใจพวกเข้าเยเรมีย์เน้นถึงความเชื่อ การกลับใจส่วนตัวและเปิดเผยให้เห็นถึงบุคลิกภาพของเขามากกว่าผู้พยากรณ์คนอื่น ๆ

3. เอเสเคียล

ผู้พยากรณ์เอเสเคียลเห็นนิมิตและพยากรณ์ในฐานะเชลในบาบิโลนหลัง 597 กคศ.

เนื้อเรื่อง

บทนำ: เอเสเคียลเห็นนิมิตเรื่องพระเจ้าผู้ทรงเรียกเขาเป็นผู้พยากรณ์ 1-3

ภาค 1: พยากรณ์ถึงเยรูซาเล็ม 4-2 4

บทละครที่เล็งถึงเยรูซาเล็มแตก 4-5

จุดจบมาถึงแล้ว 6-7

ความบาปของเยรูซาเล็ม 8-11

อุปมาและคำพยากรณ์ 12-17

ความรับผิดชอบส่วนตัว 18

ความดื้อดึงของเอสราเอล 19:1-20:44

ไฟและดาบ 20:45-21:32

ยรูซาเล็มและอิสราเอลจะพินาศ 22-24

ภาค 2: พยากรณ์ถึงประชาชาติ 25-32

ภาค 3: ความหวังสำหรับอนาคต 33-39

ผู้พยากรณ์เป็นยาม 33:1-20

เชลยได้ยินข่าวเยรูซาเล็มแตก 33:21-33

ความบาปของผู้นำและประชาชน 34

กล่าวโทษเอโดม 35

สัญญาว่าจะได้กลับคืนถิ่นและมีใจใหม่ 36

หุบเขากระดูกแห้ง 37

กล่าวโทษมาโกก 38-39

ภาค 4: นิมิตเรื่องพระวิหารใหม่ 40-48

แผนผังพระวิหารและการนมัสการ 40-42

พระสิริพระเจ้ากลับสู่พระวิหาร 43:1-12

กฎสำหรับวิหารและปุโรหิต 43:13-44:31

กฎเรื่องที่ดิน เจ้านายและเทศกาล 45-46

ลำธารไหลออกจากพระวิหาร 47:1-12

แผ่นดินและเผ่าพันธ์ 47:13-48:35

ช่วงเวลาและสถานการณ์

เอเสเคียลได้ระบุวันเวลาที่แน่ชัดไว้หลายช่วง พระเจ้าทรงเรียกเขาใน 592 กคศ. คือหลังจากเขาเป็นเชลยในบาบิโลนได้ห้าปี เขาเป็นคนรุ่นหลังเยเรมีย์ แต่แยู่ในบาบิโลน แทนที่จะอยู่ในเยรูซาเล็ม เขายังพยากรณ์ต่อไปหลังจากเยรูซาเล็มแตกในปี 586 กคศ. และเชลยยิวกลุ่มที่สองได้เข้ามาในบาบิโลน มีอยู่สิ่งหนึ่งที่น่าพิศวงคือ แม้เขาจะอาศัยอยู่ในบาบิโลน แต่เขาพยากรณ์ถึงเยรูซาเล็มโดยให้รายละเอียดถึงเหตุการณ์ที่นั่น นี่อาจเพราะว่าเขามีของประทานที่สามารถมองเห็นได้ด้วยฝ่ายจิตวิญญาณหรือไม่ก็ได้ไปเยรูซาเล็มในช่วงนั้น

ผู้พยากรณ์

เอเสเคียลถูกจับเป็นเชลยไปบาบิโลนพร้อมกับกษัตร์ย์เยโฮยาคีนและเชลยกลุ่มแรก (ล้วนมาจากตระกูลสูงในยูดาห์) ใน 597 กคศ. เขาเกิดในตระกูลปุโรหิต แม้จะมีอายุน้อยขณะถูกจับเป็นเชลย แต่เขาสนใจในรายละเอียดของการนมัสการและพิธีชำระเขาได้เห็นนิมิตหลายอย่างซาบซึ้งดื่มด่ำกับพระวจนะของพระเจ้า และสื่อสารนิมิตเหล่านั้นโดยใช้อุปมาประกอบท่าทาง

ข้อความที่มีชื่อเสียง

เอเสเคียลถูกเรียกและเห็นนิมิต 1-3

ชีวิตใดทำบาปก็จะตาย 18

ผู้พยากรณ์เป็นยาม 33:1-20

พระเจ้าเป็นผู้เลี้ยง 34:11-16

จิตใจใหม่ 36:22-32

หุบเขากระดูกแห้ง 37

แม่น้ำแห่งชีวิตไหลจากพระวิหาร 47:1-12

ใจความสำคัญ

เล่มนี้เปิดฉากด้วยนิมิตยิ่งใหญ่เกี่ยวกับพระเจ้า ณ ที่ราบแห่งบาบิโลน เอเสเคียลกล่าวประมาณความบาปและประกาศว่าพระเจ้าเป็นผู้พิพากษา เนื่องจากเขาได้เห็นพระสิริอันเป็นล้นด้วยสง่าราศีของพระเจ้า จึงทนความบาปและการไหว้รูปเคารพไม่ได้แม้แต่นิดเดียว เขารู้ว่าไม่มีหวังสำหรับเยรูซาเล็มและทำนายว่าจะพินาศ ซึ่งก็ได้เป็นความจริงใน 586 กคศ. แต่เมื่อเยรูซาเล็มถูกทำลายเแล้ว เขาเริ่มพยากรณ์ถึงอนาคตที่เปี่ยมไปด้วยความหวัง พระเจ้าจะสำแดงความยิ่งใหญ่โดยนำเชลยกลับบ้าน และจะประทานจิตใจใหม่และการนมัสการใหม่ คำพยากรณ์ของเอเสเคียลมักจะจบด้วยลีที่ว่า ‘…และเจ้าจะทราบว่าเราคือพระเจ้า’

4. ดาเนียล

เริ่มด้วยชีวประวัติของดาเนียล ซึ่งถูกจับไปเป็นเชลยที่บาบิโลนตั้งแต่เยาว์วัยและพบความรุ่นโรจน์โดยความกล้าหาญและสัตย์ซื่อต่อพระเจ้า ส่วนครึ่งหลังนั้นเป็นนิมิตเกี่ยวกับอนาคตและคำอธิษฐานที่พึงจดจำ

เนื้อเรื่อง

ภาค 1: ดาเนียลในบาบิโลน 1-6

ดาเนียลกับเพื่อนในพระราชวัง 1

เนบูคัดเนสซาร์ทรงพระสุบิน 2

เตาไฟลุกโชน 3

เนบูคัดเนสซาร์คุ้มคลั่ง 4

งานเลี้ยงของเบลชัสซาร์ 5

ดาเนียลรอดจากปากสิงห์ 6

ภาค 2: เห็นนิมิตและอธิษฐาน 7-12

นิมิตเรื่องสี่อาณาจักร 7-8

ดาเนียลอธิษฐานและได้คำตอบ 9

นิมิตเรื่องสงครามในอนาคต 10-11

ยุคสุดท้าย 12

(2:4-7:28 เขียนเป็นภาษาอารัม ซึ่งเป็นภาษาในสมัยนั้น ส่วนที่เหลือเขียนเป็นภาษาฮีบรู)

นิมิตเกี่ยวกับอนาคต

400 ปีระหว่างพันธสัญญาเดิมกับใหม่ชาวยิวนิยมอ่านหนังสือชุดหนึ่งซึ่งเรียกว่า ‘ วรรณกรรมทำนายอนาคต’ เพราะในสมัยนั้นชีวิตชาวยิวทุกข์ยากลำบากมาก หนังสือเหล่านี้จึงเขียนขึ้น เพื่อหนุนใจพวกเขาให้มั่นใจว่าพระองค์ทรงควบคุมประวัติศาสตร์อยู่ และในที่สุดชัยชนะจะเป็นของพระองค์ หนังสือเหล่านี้เต็มไปด้วสัญลักษณ์และภาพประหลาด

นิมิตเหล่านี้ บางครั้งปรากฎอยู่ในหมวดผู้พยากรณ์ในพันธสัญญาเดิมด้วยเอเสเคียลได้นำมาใช้โดยเฉพาะในนิมิตเรื่องโกกกับมาโกก ภาค 2 ของดาเนีบล ใช้ลีลาการเขียนแบบนี้ บางตอนของเศคาริยาห์ก็เช่นกัน ในพันธสัญญาใหม่วิวรณ์ก็ใช้เทคนิคนี้ด้วย ผู้เขียนวิวรณ์เอาสัญลักษณ์หลายอย่างของเอเสเคียลดาเนียล และเศคาริยาห์มาใช้ แต่มีจุดแตกต่างกันอย่างใหญ่หลวงอย่างหนึ่งคือยุคใหม่เริ่มขึ้นแล้ว เพราะพระเมสสิยาห์เสด็จมาแล้ว

บางครั้งนิมิตเหล่านี้ดูออกจะเข้าใจยาก เพราะกล่าวถึงเหตุการณ์และบุคคลที่ผู้อ่านสมัยนั้นคุ้นเคยกันดี แต่จะเขียนออกมาเป็นรหัส เพื่อเฉพาะคนสัตย์ซื้อของพระเจ้าเท่านั้นถึงจะเข้าใจได้ แต่เหล่าคนที่กดขี่ข่มเหงพวกเขาจะไม่เข้าใจ เมื่อเราอ่านถึงสัตว์ประหลาดหรือรูปคนวิปลาส เราต้องจำไว้ว่าไม่ควรตีความตามตัวอักษร เพราะมันเป็นสัญลักษณ์ อันมีสีสันซึ่งอธิบายให้เห็นว่าพลังอำนาจอันชั่วร้ายจะจู่โจมคนของพระเจ้ายังไงในที่สุดพระเจ้าจะชนะพวกเขาเด็ดขาดอย่างไร

สถานการณ์

ดาเนียลมีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 6 กคศ. และเห็นนิมิตที่บาบิโลน แต่เนื่องจากเขาบรรยายถึงเหตุการณ์ในศตวรรษที่ 2 กคศ. ได้อย่างละเอียด จึงทำให้หลายคนคิดว่าเล่มนี้เขียนเสร็จในปลายรัชสมัยอันทิโอกัส ที่ 4 อาฟิฟาเนสแห่งซีเรียที่ปกครองยูดาห์ (165 กคศ.) นิมิตเรื่องสี่อาณาจักรพุ่งถึงจุดสุดยอดเมื่อบรรยายถึงการข่มเหงของกษัตริย์องค์นี้ ผู้เชื่อจำต้องได้รับการหนุนน้ำใจถึงจะสัตย์ซื้อต่อพระเจ้าได้ และความกล้าหาญของดาเนียลในภาวะล่อแหลมนับเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นหลังได้อย่างดี

ข้อความ-เหตุการณ์ที่มีชื่อเสียง

เตาไฟลุกโชน 3 งานเลี้ยงของเบลชัสซาร์ 5 ดาเนียลรอดจากปากสิงห์ 6 คำอธิษฐานของดาเนียล 9:1-19

บทเรียนสอนใจ

เรื่องของดาเนียลเร้าใจบรรดาผู้ที่ถูกข่มเหง เพราะความเชื่อในพระเจ้าทุกยุคสมัย พระเจ้าช่วยกู้ดาเนียลเพราะความหล้าหาญและความเชื่อที่ไม่ยอมประนีประนอมของเขา นิมิตเพี่ยวกับอนาคตเล็งถึงชัยชนะอันเด็ดขากของพระเจ้า

เขียนโดย คุณโปรดปราน