หมวดใหญ่นี้เริ่มจากโยชูวาถึงเอสเธอร์ซึ่งกินเวลาราว 800 ปี(1200-400 กคศ.) บันทึกเหตุการณ์ตั้งแต่อิสราเอลยึดครองคานาอัน ยุคที่ปกครองโดยผู้วินิจฉัยและกษัตริย์ จนถึงสมัยที่ถูกมหาอำนาจจากทิศเหนือเข้าครอบครองและจับไปเป็นเชลย
เอสราและเนหะมีย์บันทึกเรื่องที่เชลยกลับคืนถิ่น ส่วนเอสเธอร์กล่าวถึงหญิงสาวแสนสวยที่ช่วยชาวยิวให้พ้นความพินาศ
ไม่มีหนังสือประวัติศาสตร์เล่มใดจะบันทึกเหตุการณ์ทั้งหมดไว้ได้ และผู้เขียนเล่มนี้มีจุดประสงค์พิเศษในใจคือ ชี้ให้เห็นว่าน้ำพระทัยพระเจ้าสัมฤทธิผลในอิสราเอลอย่างไร พวกเขาจึงบันทึกอย่างซื่อตรงถึงความหายนะเมื่ออิสราเอลจงใจไม่เชื่อฟังและกษัตริย์ที่ ‘ดี’ หรือ ‘เลว’ จะขึ้นอยู่กับว่าพระองค์เชื่อฟังพระเจ้าหรือทำตามอำเภอใจ
กล่าวถึงการยึดคานาอัน ดินแดนที่พระเจ้าสัญญาให้พวกเขา โดยมีโยชูวาเป็นผู้นำ
ภาค 1: การยึดครองคานาอัน 1-12
ข้ามแม่น้ำจอร์แดน 1-5
เยรีโค 6
อัย 7-8
การสู้รบทางตอนใต้ 9-10
การสู้รบทางตอนเหนือ 11-12
ภาค 2: แบ่งดินแดนให้ 12 เผ่า 13-21
ภาค 3: คำสั่งเสียของโยชูวา 22-24
ที่ราบฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจอร์แดนและคานาอัน
ประมาณ 1230-1200 กคศ.
อาจในสมัยผู้พยากรณ์ซามูเอล
โยชูวา ราหับ และคาเลบ
ผู้สอดแนมสองคน 2 ข้ามแม่น้ำจอร์แดน 3 เยรีโคล่ม 6
‘จงเข้มแข็งและกล้าหาญเถิด’ (1:5-9) ‘ส่วนข้าพเจ้าและครอบครัวของข้าพเจ้าเราจะปรนนิบัติพระเจ้า’ (24:15)
แม่ทัพโยชูวายึดคานาอันภายใต้การนำของพระเจ้าผู้รักษาพระสัญญา และโยชูวานำประชากรปฏิญาณต่อพระองค์อีกครั้งหนึ่ง
กล่าวถึงวีรบุรุษในยุคที่ไม่ใส่ใจในกฎบัญญัติหลังยึดคานาอันและก่อนมีกษัตริย์องค์แรก
วาระสุดท้ายของโยชูวา 1-2
เรื่องของผู้วินิจฉัย 2-16
สมัยที่ยังไม่มีกษัตริย์ 17-21
เดโบราห์กับบาราค 4-5 กิเดโอนกับชาวมีเดียน 6-8 เยฟธาห์กับลูกสาว 10-12 แซมสันกับเดลิลาห์ 13-16
น้อยกว่า 150 ปี ราว 1200-1070 กคศ.
แผ่นดินอิสราเอล/คานาอัน
อิสราเอลไม่ทำตามพระบัญชาที่ให้ขับไล่ทุกเผ่าในคานาอันออกไป ผลคืออิสราเอลนมัสการพระอื่น พวกเขาจึงแตกแยก อ่อนแอเป็นเหยื่อศัตรูง่าย แม้จะไม่รักษาสัญญาแต่เมื่อพวกเขากลับมาหาพระองค์ พระองค์ก็ช่วยพวกเขาให้รอดผ่านทางวีรบุรุษ
การกันดารอาหารส่งผลให้ครอบครัวนาโอมีอพยพไปโมอับ แต่สามีกับลูกเสียชีวิตที่นั่น เมื่อนาโอมีกลับเบธเลเฮม รูธถึงกับยอมทิ้งบ้านเมืองมาเป็นเพื่อนแม่สามี แถมยังเก็บเศษข้าวในนายังชีพ และพบโบอาสญาติในตระกูลสามี โบอาสซึ่งใจในความกตัญญูของรูธ จึงขจัดปัดเป่าอุปสรรคต่างๆจนได้แต่งงานกับเธอ รูธหญิงต่างชาติได้เลือกพระเจ้าของนาโอมีมาเป็นของตน และในที่สุดนางกลายเป็นย่าทวดของกษัตริย์ดาวิด
เกิดขึ้นที่โมอับและเบธเลเฮม ในสมัยผู้วินิจฉัยที่สังคมเต็มไปด้วยความรุนแรง
คือความรักและความภักดี พระเจ้าจะเลี้ยงดูทุกคนที่มาหาพระองค์ไม่ว่าเชื้อชาติไหน
เป็นประวัติศาสตร์อิสราเอลตั้งแต่ผู้วินิจฉัยคนสุดท้ายจนถึงปีสุดท้ายของกษัตริย์ดาวิด
พระเจ้าเลือกซามูเอลเป็นผู้นำอิสราเอล 1-7
ซาอูลกษัตริย์องค์แรกของอิสราเอล 8-10
ซาอูล: การไม่เชื่อฟังและถูกปลด 11-15
พระเจ้าเลือกสรรดาวิด 16
ดาวิดสู้กับโกลิอัท 17
ซาอูลอิจฉา: ดาวิดหลบหนี 18-30
ซาอูลกับโยนาธานเสียชีวิต 31; 2 ซมอ.1
ดาวิดขึ้นครองยูดาห์ 2-4
ดาวิดครองอิสราเอล และพระสัญญา 5-7
สงครามสมัยดาวิด 8-10
ดาวิดกับบัทเชบา: พระเจ้าลงโทษ 11-12
ปัญหาในราชวงศ์: อับซาโลมกบฏ 13-20
ปลายรัชสมัยดาวิด 21-24
กษัตริย์ดาวิดสู้รบตลอดชีวิตเพื่อขยายอาณาเขตและนำสันติภาพมา กินเวลาประมาณ 100 ปี ราว 1075-975 กคศ.
หลังจากอิสราเอลแบ่งเป็นสองอาณาจักรโดยอาจใช้ข้อมูลของซามูเอลและผู้พยากรณ์คนถัดมา และยังอ้างอิงจากสดุดีบางบท
ฮันนาห์-ซามูเอลเกิด 1 ซมอ.1 เอลี-พระดำรัสที่มาถึงซามูเอล 3 หีบพันธสัญญาถูกศัตรูยึดไปและส่งคืน 4-6 ซามูเอลเจิมดาวิดเป็นกษัตริย์ 16 ดาวิดกับโกลิอัท 17 ดาวิดกับโยนาธาน 18-20 ให้ราชวงศ์ดาวิดดำรงเป็นนิตย์ 2 ซมอ. 7 ดาวิดกับบัทเชบา 11
คำอธิษฐานของฮันนาห์ 1 ซมอ. 2 ดาวิดคร่ำครวญถึงโยนาธาน 2 ซมอ. 1 แกะของคนจน 12
อิสราเองไม่ควรมีกษัตริย์นอกจากพระเจ้า ซามูเอลจึงยับยั้งคนอิสราเอลในเรื่องนี้แต่กระนั้นพระเจ้ายังประทานกษัตริย์ให้ตามที่ประชาชนขอ แม้ทรงรู้ว่าจะมีปัญหาตามมา
ซาอูลเริ่มต้นด้วยดี แต่ความหยิ่งยโสชักนำให้กบฏต่อพระเจ้าจนถูกปลดออก
ดาวิดเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า ความไว้วางใจในพระเจ้าไม่เคยทำให้ดาวิดผิดหวัง แม้บางครั้งจะผิดพลาด แต่ดาวิดพร้อมจะขออภัยโทษจากพระเจ้าเสมอ
จุดใหญ่คือพระเจ้าสัญญาว่าราชวงศ์ดาวิดจะคงอยู่เป็นนิตย์ พระสัญญานี้สำเร็จในชีวิตพระเยซูซึ่งเป็นพงศ์พันธุ์ดาวิด
บันทึกประวัติศาสตร์อิสราเอลตั้งแต่ดาวิดสิ้นพระชนม์ การแบ่งแยกอาณาจักร จนถึงบาบิโลนเผาผลาญเยรูซาเล็มและพระวิหาร
ภาค 1: รัชสมัยซาโลมอน 1 พกษ. 1-2
ภาค 2: การปกครองของซาโลมอน 3-11
ซาโลมอนผู้หลักแหลม 3-4
สร้างและถวายพระวิหาร 5-8
พระสัญญาของพระเจ้า การค้าและการก่อสร้างของซาโลมอน 9
ราชินีเชบามาเยือน 10
ความล้มเหลวของซาโลมอน 11
ภาค 3: แบ่งอาณาจักร 12-2 พกษ. 17
เผ่าเหนือกบฏ 12-14
กษัตริย์แห่งยูดาห์และอิสราเอล 14-16
เอลียาห์ประลองกับบาอัล 17-19
อาหับแห่งอิสราเอล 20-22
เยโฮชาฟัทและอาหัสยาห์ 22-2 พกษ.1
เอลีชาผู้พยากรณ์คนใหม่ของพระเจ้า 2-8
กษัตริย์แห่งอิสราเอลและยูดาห์ 8-16
อัสซีเรียตีสะมาเรียแห่งอิสราเอลแตก 17
ภาค 4: อาณาจักรยูดาห์ 18-25
อัสซีเรียข่มขู่เฮเซคียาห์ 18-20
มนัสเสห์และอาโมนแห่งยูดาห์ 21
โยสิยาห์ทรงปฏิรูป 22-23
กษัตริย์องค์ท้ายๆ แห่งยูดาห์ 24
บาบิโลนตีเยรูซาเล็มและเผาพระวิหาร 25
รัชสมัยซาโลมอน (ราว 970-930 กคศ.) เป็นยุคทองแห่งอิสราเอล เหตุการณ์ในอาณาจักรอิสราเอลและยูดาห์ต่อจากนั้นเกิดขึ้นขณะอัสซีเรียเรืองอำนาจ ตามด้วยบาบิโลน กินเวลาประมาณ 400 ปี ราว 975-586 กคศ. สะมาเรียแตกใน 722 ส่วนเยรูซาเล็มใน 586 กคศ.
พงศวดารบันทึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกับพงศ์กษัตริย์ ทั้งอาโมส โฮเชยา อิสยาห์ มีคาห์ นาฮูม ฮาบากุก เศฟันยาห์และเยเรมีย์ล้วนอยู่ในช่วงเวลานี้
เรียบเรียงขึ้นครั้งสุดท้ายในสมัยที่ชาวยิวตกเป็นเชลย ราว 550 กคศ. โดยใช้แหล่งข้อมูลเก่าแก่คือ จดหมายเหตุทางราชการและพระราชวัง และเรื่องของผู้พยากรณ์
การวินิจฉัยของซาโลมอน 1 พกษ. 3 สร้างพระวิหาร 6 ซาโลมอนกับราชินีเชบา 10 เอลียาห์กับแม่หม้ายแห่งศาเรฟัท 17 เอลียาห์กับผู้พยากรณ์ของบาอัล 18 เอลียาห์กับพระสุรเสียงแผ่วเบา 19 สวนองุ่นของนาโบท 21 เอลียาห์กับรถม้าเพลิง 2 พกษ. 2 เอลีชากับหญิงชาวชูเนม 4 นาอามานหายโรค 5 สะมาเรียถูกล้อม 6 ราชินีเยเซเบลพินาศ 9 ราชินีอาธาลิยาห์ฆ่าล้างราชวงศ์ 11 สะมาเรียแตก 17 อัสซีเรียล้อมกรุงเยรูซาเล็ม 18 โยสิยาห์ทรงพบพระบัญญัติ 22 เยรูซาเล็มแตก พระวิหารถูกทำลาย 25
ซาโลมอนอธิษฐานขอสติปัญญา 1 พกษ. 3 คำอธิษฐานถวายพระวิหาร 8
กษัตริย์ทุกองค์ในสองเล่มนี้ถูกประเมินชีวิตตามความสัตย์ซื่อและจงรักภักดีต่อพระเจ้า เมื่อกษัตริย์และประชาชนตั้งใจเชื่อฟังและให้เกียรติพระเจ้า ทุกอย่างจะดำเนินด้วยดี แต่เมื่อจงใจไม่เชื่อฟัง ความหายนะจะตามมาแม้พระเจ้าไม่อยากให้เป็นเช่นนั้นก็ตาม พระองค์ประสงค์ให้อิสราเอลเชื่อฟังด้วยความเต็มใจเพื่อประโยชน์ของพวกเขาเอง พระองค์เตือนถึงภาวะวิกฤตโดยส่งเอลียาห์และเอลีชามาในฐานะโฆษกของพระองค์ แต่ประชาชนทำเฉย ความหายนะจึงมาถึงสะมาเรียแตก เยรูซาเล็มตกอยู่ในมือศัตรู อาณาจักรเหนือถูกลบจากประวัติศาสตร์ ส่วนยูดาห์ก็ถูกเนรเทศไปยังประเทศอื่น
กล่าวถึงเหตุการณ์เดียวกับใน 2 ซามูเอลและพงศ์กษัตริย์ แต่เนื่องจากสองเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อให้เชลยยิวที่กลับจากบาบิโลนอ่าน จึงมุ่งเน้นที่ยูดาห์อาณาจักรได้
ภาค 1: ลำดับพงศ์ตั้งแต่อาดัมจนถึงเชลยยิวกับจากบาบิโลน 1 พศด. 1-9
ภาค 2: รัชสมัยดาวิด 10-29
ซาอูลสิ้นพระชนม์ 10
ดาวิดขึ้นครองราชย์ 11-21
ดาวิดเตรียมวัสดุสำหรับพระวิหาร 22-29
ภาค 3: รัชกาลซาโลมอน 2 พศด. 1-9
แหล่งปัญญา-ความมั่งคั่งของซาโลมอน 1
ก่อสร้างและถวายพระวิหาร 2-7
กิตติศัพท์ของซาโลมอน 8-9
ภาค 4: กษัตริย์แห่งยูดาห์ 10-36
เผ่าเหนือกบฏในสมัยเรโหโบอัม 10
ตั้งแต่เรโหโบอัมจนถึงอาสา 11-16
เยโฮซาฟัททรงปฏิรูป 17-20
ตั้งแต่เยโฮซารัมถึงอาหัส 21-28
เฮเซคียาห์ทรงปฏิรูป 29-32
มนัสเสห์และอาโมน 33
โยสิยาห์ทรงปฏิรูป 34-35
จุดจบกษัตริย์ยูดาห์และเยรูซาเล็มแตก 36
บันทึกประวัติศาสตร์อิสราเอลตั้งแต่ซาอูลสิ้นพระชนม์ถึงเชลยยิวกลับจากบาบิโลนสู่ถิ่นฐานเดิมราว 1000 กคศ. จนกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ตีเยรูซาเล็มแตกใน 587/6
หลังจากเชลยยิวกลับยูดาห์ราว 400 กคศ.
นำหีบพันธสัญญากลับ 1 พศด. 15-16
ซาโลมอนถวายพระวิหาร 2 พศด. 5-7
เฮเซคียาห์ถวายพระวิหารอีกครั้ง 29
เพลงสรรเสริญของดาวิด 1 พศด. 16
คำสรรเสริญพระเจ้า-สั่งเสียซาโลมอน 29
คำอธิษฐานถวายพระวิหาร 2 พศด. 6-7
พระเจ้าสัญญากับซาโลมอนถึงอนาคต 7
มุ่งให้ชาวยิวที่เพิ่งกลับเยรูซาเล็มเข้าใจว่าพวกเขายังเป็นประชากรพิเศษของพระเจ้าผู้ทรงอวยพระพรยุคต้นของอาณาจักรคือ ในสมัยดาวิดและซาโลมอน และกำหนดการนมัสการและรายละเอียดเกี่ยวกับระบบการถวายเครื่องบูชา ปุโรหิต คนเลวี และคณะนักร้องในพระวิหาร แต่กษัตริย์หลายองค์มิได้เชื่อฟัง กลับทำลายระบบเหล่านั้นอันยังผลให้เยรูซาเล็มแตก พระวิหารถูกเผาผลาญและชาวยิวตกเป็นเชลย แต่พระสัญญาที่พระเจ้ามีต่ออิสราเอลยังมั่นคงอยู่และนี่เป็นเวลาที่จะกอบกู้ประเทศขึ้นใหม่ การฟื้นฟูการนมัสการในรัชสมัยเยโฮชาฟัท เฮเซคียาห์และโยสิยาห์ หนุนใจให้เชลยยิวฟื้นฟูความเชื่อ (ข่าวสารนี้เหมือนคำสอนของผู้พยากรณ์ฮักกัยกับเศคาริยาห์)
กล่าวถึงเชลยยิวสองกลุ่มหวนคืนถิ่นเดิมจากบาบิโลน บูรณะพระวิหาร และเริ่มรักษาพระบัญญัติภายใต้การนำของเอสรา
ภาค 1: กลุ่มแรกที่กลับเยรูซาเล็ม 1-2
ภาค 2: สร้างพระวิหารขึ้นใหม่ 3-6
เริ่มสร้างพระวิหารอย่างชื่นชมยินดี 3
ถูกต่อต้านแต่ได้รับความอุปถัมภ์จากพระราชาเปอร์เซีย 4
เริ่มสร้างพระวิหารอีกครั้ง 5:1-6:12
ถวายพระวิหาร-ฉลองปัสกา 6:13-22
ภาค 3: กลุ่มที่สองกลับเยรูซาเล็ม 7-10
รายชื่อ-การเดินทางของคนที่กลับมา 7-8
ปัญหาการแต่งงานกับชาวต่างชาติ 9-10
การคืนถิ่นของเชลยยิวมิได้เกิดขึ้นแค่ครั้งเดียว แต่มากันหลายระลอกในระยะกว่าร้อยปี ในรัชสมัยพระราชาเปอร์เซียหลายพระองค์ตั้งแต่ราว 538 ถึง 428 กคศ. แต่เมื่อถึงถิ่นเดิมพบว่าชาวยิวในเยรูซาเล็มที่ไม่ได้ถูกจับไปบาบิโลนได้ผสมปนเปกับต่างชาติแถมยังต่อต้านพวกเขา เยรูซาเล็มและพระวิหารอยู่ในสภาพปรักหักพัง และชนชาติยิวไม่มีการพัฒนาใดๆเลย
อาจเขียนขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อจากพงศวดาร ราว 400 กคศ.
เอสรา ผู้เป็นปุโรหิตจากเชื้อสายอาโรนเชี่ยวชาญในพระบัญญัติ เศรุบบาเบลผู้นำเชลยกลุ่มแรกที่กลับคืนถิ่นเป็นหลานของกษัตริย์เยโฮยาคีนผู้ถูกจับไปเป็นเชลยที่บาบิโลน
พระราชาไซรัสแห่งเปอร์เซียผู้โค่นล้มบาบิโลนออกกฤษฎีกาให้เชลยทั้งหมดรวมทั้งยิวกลับถิ่นฐานเดิม อิสยาห์พยากรณ์ไว้แล้วว่าการกระทำของพระราชาที่ไม่เชื่อในพระเจ้าผู้นี้ เป็นพระราชกิจของพระเจ้า
ไซรัสให้เชลยกลับคืนถิ่นฐานเดิม 1 ฉลองปัสกาครั้งแรกที่พระวิหารหลังใหม่ 6 เอสรากลับเยรูซาเล็มพร้อมกับลูกหลานของเจ้าหน้าที่พระวิหาร 7-8
ผู้เขียนอาจเขียนด้วยความเชื่อมั่นว่าชาวยิวยังคงเป็นประชากรพิเศษของพระเจ้าแม้ว่าพระองค์เนรเทศให้เป็นเชลยและยกเลิกระบบกษัตริย์ก็ตาม จากเล่มนี้เห็นชัดว่าความเชื่อนี้กลายเป็นความจริง เพราะเฉลยที่กลับคืนถิ่นได้บูรณะพระวิหารขึ้นใหม่และยอมรับนับถือพระเจ้าอีกครั้ง พวกเขาจะถือรักษาพระบัญญัติทุกข้ออย่างครบถ้วนและเป็นชนชาติที่แยกออกจากชาติอื่น
เรื่องของเนหะมีย์เชลยยิวผู้นำเชลยกลุ่มที่สามกลับเยรูซาเล็ม เขาได้เป็นผู้ว่าราชการยูดาห์และเร่งเร้าให้ชาวยิวบูรณะกำแพงเมือง การปฏิรูปทางศาสนาของเขาคาบเกี่ยวกับงานของเอสรา
ภาค 1: เนหะมีย์บูรณะกำแพงเมือง 1-7
เนหะมีย์อธิษฐานเพื่อเยรูซาเล็ม 1
เนหะมีย์กลับสู่บ้านเดิม 2
บูรณะกำแพงขณะถูกต่อต้าน 3:1-7:3
รายชื่อเชลยที่กลับคืนถิ่น 7:4-73
ภาค 2: พระบัญญัติ การสารภาพบาปและปฏิญาณใหม่ 8-10
อ่านพระบัญญัติและสารภาพบาป 8
เอสราอธิษฐาน 9:1-37
สัญญาจะทำตามพระบัญญัติ 9:38-10:39
ภาค 3: ประชาชนและผู้ว่าที่ปฏิรูป 11-13
รายชื่อประชาชน-เจ้าหน้าที่ 11:1-12:26
ถวายกำแพงใหม่ 12:27-43
เนหะมีย์ปฏิรูป 12:44-13:31
เนหะมีย์กลับเยรูซาเล็มในปี 445 กคศ. และเป็นผู้ว่า 12 ปีจนถึง 433 กคศ. เขาผละจากตำแหน่งในพระราชวังเปอร์เซียที่รุ่งเรืองและแสนสบายเพื่อไปยังเมืองที่เริ่มบูรณะแต่ยังอยู่ในสภาพย่ำแย่ ผู้พยากรณ์มาลาคีอาจทำงานในช่วงนี้
เล่มนี้เกี่ยวข้องกับพงศาวดารและเอสราอย่างใกล้ชิด อาจเขียนขึ้นราว 400 กคศ. ข้อมูลหลักอาจได้จากการบันทึกของเนหะมีย์
เนหะมียกลับเยรูซาเล็ม 2 กำแพงบูรณะเสร็จ 6
คำอธิษฐานสารภาพบาปของประชาชน 9
เนหะมีย์นักปฏิบัติได้ชูใจชาวยิวที่หดหู่ด้วยการก้าวเข้ามาเป็นผู้นำทั้งด้านจิตใจและการกระทำ จนงานที่ยากลำบากลุล่วงไปได้ท่ามกลางการต่อต้านอันรุนแรง เขายังเป็นนักอธิษฐานที่พึ่งพิงพระเจ้าสุดใจและมีประสิทธิภาพสูง ชาวยิวได้ฟื้นฟูชีวิตด้านศาสนาภายใต้การนำอันเก่งกาจของเขาและเอสรา
สาวยิวผู้เลอโฉมขึ้นเป็นราชินีของพระราชาอาหสุเอรัสแห่งเปอร์เซีย เธอใช้ไหวพริบคว่ำอุบายที่จะกวาดล้างยิวในอาณาจักรเปอร์เซียได้สำเร็จด้วยความช่วยเหลือของโมรเดคัย ในที่สุดฮามานคนต้นคิดอุบายนั้นถูกประหารชีวิต และโมรเดคัยได้เลื่อนยศ
เกิดขึ้นที่สุสาเมืองหลวงฤดูหนาวแห่งอาณาจักรเปอร์เซีย ในสมัยที่เชลยยิวส่วนใหญ่กลับไปเยรูซาเล็มแล้ว แต่บางคนยังอยู่ที่เปอร์เซียซึ่งเป็นอาณาจักรที่โค่นล้มบาบิโลน
เล่มนี้ไม่ได้เอ่ยถึงพระเจ้าและไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาเท่าไร แต่เป็นตัวอย่างชี้ให้เห็นว่าชาวยิวรอดพ้นจากมหันตภัยมาได้อย่างไร ปัจจุบันชาวยิวยังอ่านเล่มนี้ในเทศกาลปูริม
เขียนโดย คุณโปรดปราน