ศีล สมาธิ ปัญญา
ในคริสต์ศาสนา

เรื่องศีล สมาธิ ปัญญา อะนะ ด้วยปัญญาอันต่ำต้อยของผมก็พอวิเคราะห์ออกมาได้ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา คือ การศึกษา 3 ประการ (ไตรสิกขา)

ศีล คือข้อควรละเว้นข้อควรกระทำ ในทางคริสต์คือพระบัญญัติ (ศีล แผลงมาจากคำว่าศิลา,สีลา แปลว่า ความแข็งแรง,ความมั่นคงหรือความยังยืน ดังนั้นทาง พุทธ  ศีล คือ เครื่องมือที่จะรักษาความเข้มแข็งของจิตใจผ่านทางกาย และด้วยความหมายที่ แสดงถึงความยังยืนทางคาทอลิก จึงนำคำนี้มาใช้ในพีธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นศีลมหาสนิท บ้าง ศีลกล่าวหรือศีลแต่งงานบ้างเพราะ ศีลเหล่านี้เราเชื่อว่าเป็นพัณธะสัญญาของพระเจ้าอันยืนยง)

สมาธิ คือ ข้อศึกษาในการปฏิบัติทางจิตให้แน่วแน่ ไม่หวั่นไหวไปกับสิ่งล่อลวงทางโลก ทาง ศาสนาคริสต์ก็คือ การภาวนาอธิษฐาน เพราะเวลาที่เราภาวนา จิตใจเราจะแน่วแน่ต่อพระเจ้า และเราจะพระคุณอันอุดมที่ดลให้เราพ้นจากการล่อลวง

ปัญญา คือ การพิจารณาถึงเหตุและผล ในทางพุทธมักจะพิจารณาตามหลัก ปฏิจสมุทบาท คือ พิจารณาว่า เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี ฯลฯ อะไรประมาณนี้ รู้สึกว่าใน ข้อนี้ผมเองก็ไม่แน่ใจว่าจะเทียบได้ไหมกับการภาวนารำพึง โดยเฉพาะการที่เรารำพึงถึง รหัสธรรมลำลึกตั้งแต่บาปของอาดัม บาปของเหล่ามนุษย์ทั้ง เรื่อยไปจนถึงพระเยซูเจ้าทรงรับ พระมหาทรมานไถ่ชาวเราออกจากบาป (น่าจะใช่นะ หากใครมีเสริมมีแก้ก็เชิญเลยครับ ด้วย ความยินดียิ่ง) ( จาก คุณ โบ้ท )

 

ศีล-สมาธิ-ปัญญา เปรียบเทียบกับทางคริสตศาสนา

ก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนว่า พุทธศาสนา กล่าวถึงกิเลส หรือการกระทำชั่ว ว่าอย่างไร

กิเลส นั้นในทางพุทธ เกิดจากมูลเหตุ 3 ประการ เรียกว่า อกุศลมูล

และกิเลสตัณหา ก็คือ ความอยากกระทำชั่ว

การกระทำชั่ว หรือเรียกว่ากรรมชั่ว มี 3 ประเภท

และการกำจัดกิเลสแต่ละระดับนี้ เราต้องอาศัย 3 วิธี

กิเลสอย่างหยาบ กำจัดด้วยศีล หรือข้อบังคับ

กิเลสอย่างกลาง กำจัดด้วยสมาธิ หรือการเจริญภาวนา

กิเลสอย่างละเอียด กำจัดด้วยปัญญา หรือความรู้แจ้ง


1. ศีล

อย่างที่ทราบกันดีว่าศีลคือกฏศีลธรรม ที่มุ่งเพื่อให้มนุษย์ปฏิบัติเพื่อความสงบสุขในการอยู่ร่วมกัน

ศีล นั้นมีมาก่อนพุทธกาล และเป็นข้อที่พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าดี จึงยอมรับนำมาไว้ในพุทธศาสนา เช่น ศีล 5 ศีล 10 และต่อมามีพระสงฆ์ จึงทรงบัญญัติ ศีล 227 ขึ้นเพื่อสำหรับพระสงฆ์ของพระองค์

ผู้ที่รักษาศีลก็จะยั้งตัวเองไม่ให้ลงมือกระทำชั่ว แต่ว่าจิตใจก็ยังว้าวุ่นในการกระทำชั่วอยู่ จึงยังไม่เป็นสุขแท้ และตัณหาก็เร้าให้กระทำชั่วเสมอ ๆ การละตัณหาทำได้โดยการเจริญสมาธิ

2. สมาธิ

การปฏิบัติสมาธิก็มีมาก่อนพุทธกาล โดยวิธีอานาปานสติ หรือการเจริญภาวนา เป็นวิธีที่พวกพราหมณ์ใช้กัน และพระพุทธเจ้าก็นำมาใช้ และค้นพบหลักที่ถูกต้อง จนตรัสรู้ การเจริญภาวนาหรือสมาธินี้ทำให้จิตใจสงบจากความคิดอันมากมาย และทำให้ละหรือลืมความทะยานอยากหรือตัณหาไปชั่วขณะ แต่พอออกจากสมาธิก็ยังคงมีตัณหาอีก จิตจึงยังไม่เป็นสุขแท้ ต้องอาศัยขั้นที่3 คือ ปัญญา

3. ปัญญา

คือการพิจารณาจากสมาธิเพื่อให้เห็นความจริงแห่งสรรพสิ่ง โดยมุ่งให้เห็นความจริงของรูปไตรลักษณ์ รูปว่าสรรพสิ่งแท้จริงเป็นเพียงธรรมชาติที่มาประชุมกัน มุ่งให้เห็นว่าทุกสิ่งเป็นเหตุและปัจจัยกันและกัน รู้เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ และสุข เพราะความยึดมั่นถือมั่น เมื่อดับความยึดมั่นถือมั่นได้ก็ดับทุกข์ และเมื่อดับได้สนิทก็จะถึงพระนิพพาน

แต่การที่จะดับทุกข์ได้ถาวรนั้น ต้องเจริญอยู่ใน 3 ประการนี้ตลอดเวลา ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงให้ผู้ที่บรรลุธรรมบวชเป็นพระภิกษุ เพื่อไม่ให้มีสิ่งต่าง ๆ มาเร่งตัณหาให้เกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุถึงพระนิพพาน

เช่นเดียวกับคริสตศาสนา ที่ผู้ที่จะมุ่งไปสู่ชีวิตนิรันดร์นั้น ย่อมต้องแนบสนิทชิดกับพระเจ้า ทางที่ดีที่สุดที่จะละหนทางเนื้อหนังก็คือการมุ่งรับใช้พระเจ้า มุ่งศึกษาพระวจนะ ก็คือการบวชเป็นบาทหลวง หรือ การเป็นศิษยาภิบาล นั่นเอง

ในคติทางคริสตศาสนานั้น การกระทำชั่ว หรือ กิเลสตัณหาเราถือว่าเป็นธรรมชาติบาปของมนุษย์ ที่ติดตัวมาจากการล่วงละเมิดครั้งแรกของอาดัมกับเอวา สืบทอดมายังลูก-หลาน ซึ่งก็เกิดจากการล่อลวงที่มาจากมารอีกทีหนึ่ง และมารก็มาจากฑูตสวรรค์ที่ตั้งตนเป็นปฏิปักษ์กับพระเจ้า ขัดขวางความปรารถนาของพระเจ้า จึงถูกขับไล่จากสวรรค์ นั่นแสดงให้เห็นว่า เมื่อเดิมนั้น มนุษย์บริสุทธิ์ ดังเช่นพระเจ้า เพราะมีลักษณะตามพระวิญญาณของพระองค์ที่ประทานมาให้เป็นชีวิตแก่ร่างเนื้อหนัง และโดยพระวิญญาณก็คือสติปัญญา (พุทธศาสนาเรียกจิตเดิมที่บริสุทธิ์ว่า จิตประภัสสร)

และมารได้ใช้ความที่มนุษย์สามารถคิดได้ด้วยตนเอง ล่อลวงให้มนุษย์กระทำตามความอยากของตัวเอง โดยไม่สนใจความถูกต้อง ดังเช่นเมื่ออาดัมกับเอวาได้รับคำเตือนจากพระเจ้า ว่า “ห้ามกินผลไม้จากต้นนี้ เมื่อเจ้ากินวันใด เจ้าจะต้องตาย” และมนุษย์ก็รับทราบ และมารได้ชักชวนว่า “เจ้าจะไม่ตายจริงหรอก แต่เมื่อเจ้ากินผลไม้นี้ เจ้าจะเป็นเหมือนพระเจ้า คือรู้ดีรู้ชั่ว” และมนุษย์ก็เชื่อฟัง

และด้วยความอยากรู้และอยากรู้ดี-ชั่ว เอง จึงไม่สนใจคำเตือนของพระเจ้า และกระทำลงไป ดังพระคัมภีร์ว่า “เพราะมนุษย์ได้รักความมืดมากกว่าความสว่าง..”

และการที่เราฝ่าฝืนกฏของพระเจ้า นี้เอง จึงเรียกว่า “ความบาป” และการที่เราอยากเชื่อฟังเนื้อหนังของตนเองมากกว่าการกระทำตามกฏ ของพระเจ้า จึงเรียกว่า “กิเลสตัณหา” (โรม 7:21-25)

ดังนั้น มูลเหตุ ที่ทำให้เกิดความบาป คือ กิเลสตัณหา จึงมาจากการที่มีธรรมบัญญัติ หรือ กฏศีลธรรม และด้วยนิสัยที่อยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ จึงเป็นช่องให้เกิดการล่อลวง ให้ละเมิดกฏนั้น มีองค์ประกอบดังนี้

และผลจากความบาปนั้น ทำให้เกิดการปรับโทษ คำสาปแช่ง และความทุกข์ สิ่งนี้เองจึงเรียกว่า “ความตายทางวิญญาณ” ตามที่พระเจ้าได้ทรงเตือนไว้

 

1. ศีลหรือธรรมบัญญัติ เปรียบเทียบกับคริสตศาสนา

ธรรมบัญญัติ 10 ประการที่ประทานแก่ชนชาติอิสราเอล นั้น เปรียบได้กับ ศีล คือ ข้อบังคับที่ตั้งขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของมนุษย์

บัญญัติ 10 ประการ

ศีล 5

บัญญัติข้อ 1 – 4 เป็นการบัญญัติความสัมพันธ์ของมนุษย์กับพระเจ้า

บัญญัติข้อ 5 –10 เป็นการบัญญัติความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ (ที่มี *** คือเป็นหลักที่ตรงกันกับศีล5)

ธรรมบัญญัติเหล่านี้ คริสตศาสนาถือว่า เป็นเครื่องมือที่พระเจ้าทรงใช้เพื่อให้ทุกคนตกอยู่ภายใต้การพิพากษาของพระองค์

เนื่องจากไม่มีใครเลยที่จะบริสุทธิ์หมดทุกข้อ เพราะไม่มีใครเลยที่จะไม่ฆ่าสัตว์ หรือไม่โกหก หรือ ไม่โลภ ตลอดทั้งชีวิต ดังนั้น หากว่ากันตามเนื้อความ ทุกคนย่อมได้รับโทษของตนตามบัญญัตินั้น ๆ ตามความยุติธรรม และเพราะทุกคนมีจิตสำนึกผิดชอบชั่วดีอยู่ ที่จะคอยกล่าวโทษเราเอง เมื่อเราทำผิด จิตส่วนดี ก็จะนำเราไปสู่การปฏิบัติดี ตามธรรมบัญญัติ จิตชั่วที่เชื่อฟังการล่อลวงก็จะนำไปสู่การปฏิบัติชั่ว ที่ผิดธรรมบัญญัติ และเป็นบาป พระเยซูคริสต์ตรัสว่า “ไม่มีผู้ใดที่จะเป็นผู้ชอบธรรมโดยอาศัยธรรมบัญญัติได้” นั่นคือ เราทุกคนไม่มีทางพ้นการพิพากษาได้

แต่พระเยซูคริสต์เองทรงปรารถนาที่จะรับเอาความผิดบาปของมนุษย์ จึงทรงใช้ตัวพระองค์เองเป็นเครื่องไถ่บาป เป็นลูกแกะปัสกา (พระคัมภีร์เรียกอีกชื่อว่า พระเมษโปดก) ของมวลมนุษย์ทั้งปวง ถวายแด่พระเจ้า (ตามธรรมเนียมของยิวที่จะถือปัสกาเพื่อถวายแก่พระเจ้าเนื่องในโอกาสที่พ้นจากความเป็นทาสในอียิปต์)

และตามนี้เองพระเจ้าจึงทรงโปรดยกโทษให้แก่ผู้ที่เชื่อในพระคริสต์ นั่นคือ เขาได้รับพระราชทานอภัยโทษ เมื่อเขาเชื่อว่าพระคริสต์ตายเพื่อรับโทษบาปแทนเขา และเชื่อว่า ถ้าผู้ใดกลับใจและอธิษฐานสำนึกผิดสารภาพต่อพระเจ้าอย่างจริงใจ พระเจ้าจะทรงโปรดยกบาปให้เขา

การยกบาปนี้ ไม่ได้หมายความว่าไม่มีการลงโทษ แต่มีการชดใช้โทษบาปเกิดขึ้น

ในทางพุทธศาสนา พระพุทธเจ้ามิได้ทรงกำหนดบทลงโทษอย่างชัดเจน เพียงแต่ตรัสว่าหากกระทำผิดอยู่จะทำให้เราเป็นทุกข์อยู่เสมอ และเราย่อมได้รับผลกรรมตามที่เราก่อทั้งสิ้นตามกฏแห่งกรรม นั่นคือ ทุกคนย่อมอยู่ภายไต้กฏแห่งกรรมนี้ทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้แต่พระอรหันต์ ซึ่งก็ยังต้องเสวยกรรมทางร่างกายอยู่ เพียงแต่ไม่ต้องเสวยกรรมหรือทุกขเวทนาทางใจแล้ว และพุทธศาสนาสอนว่า กรรมเป็นเรื่องจำเพาะบุคคล นั่นคือ ทุกคนต้องรับผิดชอบการกระทำของตนเอง แต่ความทุกข์-สุข เวทนาที่ได้รับจากการเสวยกรรมนั้นเราสามารถปรุงแต่งได้โดยหลักดังกล่าว

 

2. สมาธิ เปรียบเทียบกับการอธิษฐานในคริสตศาสนา

ในการกำจัดกิเลสอย่างกลางนั้น พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้เจริญสมาธิ เพื่อให้จิตใจสงบ เรียกว่า การทำกัมมัฏฐาน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สมถกัมมัฏฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน

ในทางคริสตศาสนา การบำเพ็ญภาวนานี้ ก็อาจเทียบได้กับการอธิษฐาน

การอธิษฐานเป็นการที่เราจะพิจารณาตัวเอง ต่อพระพักตร์พระเจ้า พิจารณาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง และทูลความต้องการของเราเองกับพระเจ้า ระลึกถึงและพิจารณาพระคุณความรักของพระเยซูคริสต์ที่มีต่อเรา พิจารณาความรักของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์ อาจเทียบได้กับการปฏิบัติสมถกัมมัฏฐานของพุทธ (เทวดานุสสติ)

คริสตศาสนาไม่ได้บัญญัติว่าเราสามารถที่จะละกิเลสตัณหาได้ด้วยกำลังของตนเอง เนื่องจาก โลกทุกวันนี้เต็มไปด้วยการล่อลวง และทุกคนก็มักถูกล่อลวงให้หลงไป ดังนั้น จึงมีโอกาสที่เราจะหวนกลับไปทำผิดได้อีก แต่จะเน้นถึงท่าทีของเราว่าไม่ควรมีนิสัยบาปมากกว่า ดังในพิธีศีลมหาสนิท หรือพิธีมิสซา ที่มักจะมีช่วงเวลาให้สงบใจ ซึ่งก็ทำให้จิตใจสงบได้ชั่วขณะ พอออกจากพิธีก็กลับมีจิตใจบาปเป็นอย่างเดิม

นอกจากนี้การบำเพ็ญภาวนาอาจทำได้โดยการสวดสายประคำ ซึ่งก็สามารถทำให้เกิดสมาธิยาวนานขึ้นได้เช่นเดียวกัน

ในพระคัมภีร์บันทึกว่า พระเยซูคริสต์เองทรงอธิษฐานในที่เปลี่ยว อยู่หลายครั้ง รวมถึง ทรงอดพระกระยาหารสี่สิบวัน ซึ่งน่าประหลาดใจที่ตรงกับวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ และก็ทรงถูกพญามารทดลองเช่นกัน

พระเยซูคริสต์ทรงเน้นว่า การอธิษฐานที่ดีต้องประกอบด้วย การโมทนาขอบพระคุณพระเจ้า สำหรับชีวิตที่ผ่านมา การระลึกถึงบาป สำนึกบาปที่เราได้กระทำมา และขออภัยต่อพระเจ้า และระลึกว่า ให้ทุกสิ่งเป็นไปตามน้ำพระทัยของพระองค์ ไม่ใช่เป็นไปตามความต้องการของเรา (ให้พระเจ้าตัดสินใจ) และขอการปลดปล่อยจากสิ่งล่อลวงและสิ่งชั่วร้าย ทรงเน้นเสมอว่าให้เรามีชีวิตแนบสนิทกับพระเจ้าพระบิดาโดยการอธิษฐาน และเราก็จะได้รับผลจากการอธิษฐานนั้น โดยพระเจ้าเป็นผู้ประทานให้

การถือศีลอดอาหาร เป็นการถือศีลอดเพื่อระลึกถึงคนที่ทุกข์ลำบาก เสมือนเป็นการช่วยแบ่งปันภาระความทุกข์ใจของคนที่เราระลึกถึงด้วย ซึ่งต้องใช้สมาธิและควบคุมใจอย่างมาก จึงจะสามารถถือศีลอดอาหารได้ เป็นการฝึกความอดทนและเป็นการพิจารณาถึงชีวิตของตนเองต่อชีวิตคนอื่นด้วยความเมตตา

หลายนิกายเชื่อว่าการถือศีลอดอาหารนี้ให้ผลมากกว่าการอธิษฐานเสียอีก

การนมัสการ เป็นการโมทนาสรรเสริญพระเจ้าด้วยเสียงเพลง ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เราจะปลดปล่อยพันธนาการและถวายจิตใจบูชาแด่พระเจ้า ซึ่งก็อาจเป็นการภาวนาอีกแบบหนึ่ง ที่อาศัยเสียงเพลงเป็นสื่อและเป็นจุดร่วม ในชีวิตของคริสตชนที่แนบสนิทกับพระเจ้า สามารถที่จะนมัสการพระเจ้าด้วยใจ ภายในใจตลอดเวลา เช่นนี้ก็จะเป็นช่องทางที่ทำให้กิเลสตัณหาเกิดขึ้นได้ยากเช่นกัน

สรุป การทำสมาธิ ในทางพุทธศาสนา เป็นการยึดอารมณ์กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้จิตละวางในการครุ่นคิดไปตามตัหาอุปาทาน เมื่อจิตสงบย่อมละจากตัณหาชั่วขณะจนกว่าจะออกจากสมาธิ

ส่วนในทางคริสตศาสนานั้น มุ่งอารมณ์ที่จะยึดติดแนบสนิทกับพระเจ้าเป็นหลัก ซึ่งก็ทำได้หลายทาง ดังกล่าวมาแล้ว แต่เมื่อออกมาใช้ชีวิตตามปกติ ก็ย่อมพบการล่อลวงให้กระทำบาปเช่นเดิม

 

3. หลักปัญญา เปรียบเทียบกับคริสตศาสนา

กิเลสอย่างละเอียด ที่ สมาธิกำจัดไม่ได้ ก็คือ ความหลงผิด หรือความไม่รู้ในความจริงว่าเกิดมาทำไม (อวิชชา) พุทธศาสนาแนะนำให้กำจัดได้โดยการบำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐาน นั่นคือใช้หลักปัญญา อันเกิดจาก การบำเพ็ญวิปัสสนาจนรู้ถึงความจริงนั่นเอง เมื่อถึงซึ่งความจริง ก็ย่อมถึงสภาวะนิพพาน นั่นคือไร้กิเลสตัณหาอีกต่อไป มองเห็นว่าสรรพสิ่งรวมทั้งตัวเราก็ไม่ต่างอะไรกับธรรมชาติ

หากเราพิจารณา ตามหลักพระคัมภีร์ พระเยซูคริสต์ทรงต้องการให้เรากลับใจ และรับพระกรุณาที่จะยกโทษบาปให้กับเรา ต้องการให้เรารู้ว่า “สรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงต้องเป็นไปโดยน้ำพระทัยพระเจ้ากำหนด” และ “ไม่ให้ถือว่าความสามารถทั้งหลายมาจากตัวเราเอง แต่มาจากพระเจ้า”

จะเห็นได้ว่าคริสตศาสนาไม่ได้สอนให้กำจัดกิเลสโดยการทำสมาธิ หรือทำจิตใจให้สงบมากนัก เนื่องจากพระเยซูคริสต์ทรงเห็นว่าน้อยคนนักที่จะสามารถละวางได้จริง ๆ แต่ทรงสอนให้เข้าใจลักษณะของมัน จึงทรงเน้นในเรื่องของการอภัย ถ้าเราอภัยให้ลูกหนี้ของเรา พระเจ้าก็จะอภัยหนี้ให้กับเราเช่นกัน พระเยซูทรงเน้นหลักความกรุณา ความรัก เป็นหลัก ทรงกล่าวย้ำหลายครั้งว่าให้รักกันและกัน และทรงสอนไม่ให้ยึดติดกับธรรมบัญญัติ เพราะเราไม่อาจรักษาธรรมบัญญัติได้หมดเลยทุกข้อ พิจารณาตามบัญญัติ แต่ทรงให้ใช้ชีวิตในความเชื่อกับพระเจ้า มุ่งตามน้ำพระทัยพระเจ้า เชื่อฟังพระองค์ และความบาปต่าง ๆ ของเรา พระเยซูคริสต์ก็ทรงแบกรับแทนเราไปแล้ว เราจึงอยู่โดยพระคุณ พึ่งพระคุณ มิใช่อยู่เพื่อตัวเอง

หลักปัญญาของพุทธ ที่ใช้เป็นหลักในการพิจารณาเพื่อกำจัดกิเลสอย่างละเอียดนั้น จะต้องพิจารณา อริยสัจ 4 ไตรลักษณ์ ขันธ์ 5 และ ปฏิจจสมุปบาท 11 เป็นต้น

1. อริยสัจ 4

1.1 ทุกข์ ในที่นี้ พุทธศาสนาชี้ว่าการมีชีวิตอยู่เป็นทุกข์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะทุกข์ตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บกาย เจ็บใจ โศกเศร้า พลัดพรากจากสิ่งที่รัก เคียดแค้น - คริสตศาสนาถือว่าการที่เรามีชีวิตอยู่นี้ เราได้ ตายแล้วทางจิตวิญญาณ นั่นคือเราไม่รู้จักความสุขแท้ว่าเป็นเช่นไร ยังเพลิดเพลินในกิเลสตัณหาของเนื้อหนัง ซึ่งท้ายที่สุดปลายทางก็คือความตายครั้งที่ 2 และไม่อาจหนีพ้นการพิพากษาของพระเจ้าได้ ทุกคนต่างหลงเจิ่นและทุกข์กับความผิดพลาดของตนเอง ก็เพราะไม่รู้จักพระเจ้า ไม่รู้จักถึงน้ำพระทัยของพระเจ้า และเราทุกคนต่างแสวงหาความชอบธรรม แสวงหาความรู้สึกที่จะมีผู้ปลดปล่อย ผู้ช่วยเหลือ และต้องพบกับการทนทุกข์ต่างๆ มากมาย

1.2 สมุทัย หมายถึง เหตุทำให้เกิดทุกข์ มี 3 อย่าง - กามตัณหา หมายถึง ความพอใจในประสาทสัมผัส รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส - ภวตัณหา หมายถึง ความยึดมั่นติดในอารมณ์ ของตาหูจมูกลิ้นกายใจ - วิภวตัณหา หมายถึง ความรู้สึกว่า ยังขาดอยู่ คริสตศาสนาถือว่าการที่เราพอใจที่จะทำตามเนื้อหนังนั้นเป็นทางไปสู่วิบัติ และความตาย และย้ำหลายจุดในพระคัมภีร์ว่า ไม่ให้ดำเนินชีวิตปล่อยตัวไปตามราคะตัณหา ,เพราะตัณหาเมื่อเจริญเต็มที่ก็ทำให้เกิดบาป และบาปก็นำไปสู่ความตาย มุ่งให้เราดำเนินชีวิตอย่างบริสุทธิ์ ไม่ให้กระวนกระวายแสวงหา

1.3 นิโรธ หมายถึง การดับทุกข์ เกิดขึ้นเมื่อเราดับ ตัณหา ทั้ง 3 ดังกล่าวข้างต้นได้ ก็จะดับทุกข์และเป็นสภาวะที่เรียกว่า เข้าสู่นิพพาน ซึ่งเป็นความสุขแท้จริงไม่ต้องทุกข์อีกต่อไป - พระคัมภีร์ พูดถึงชีวิตนิรันดร์ และแผ่นดินสวรรค์ว่า พระเจ้าจะทรงเช็ดน้ำตาจากเขาทุกหยด และ ในแผ่นดินสวรรค์จะมี ความชอบธรรมและสันติสุข, ที่นั่นจะไม่มีแสงสว่าง เพราะพระเจ้าเป็นแสงสว่างของเขา ที่นั่นไม่มีการล่อลวงอีกต่อไป มารจะถูกผลักลงบึงไฟ เราจึงสามารถพูดได้ว่า ชีวิตนิรันดร์นั้น ก็ไม่มีทุกข์เช่นกัน

1.4 มรรค หมายถึง หนทางที่นำไปสู่ความดับทุกข์ คือ ความคิดถูก ความเห็นถูก ความพยายามถูก ความตั้งใจถูก มีอาชีพที่ถูก เป็นต้น - พระคัมภีร์ บอกเราว่า เราไม่อาจเป็นคนชอบธรรมได้เอง หากพระเจ้าไม่ทรงนับว่าเราเป็นคนชอบธรรม และทางที่เราจะเป็นคนชอบธรรมเพื่อให้ได้ชีวิตนิรันดร์นั้น คือ การที่เรายอมรับพระเยซูคริสต์และเชื่อว่าพระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราจากคำสาปแช่งและจากการพิพากษาโดยทรงเสนอพระองค์รับโทษแทนเรา และหากเราให้พระเยซูคริสต์นำชีวิตเรา กลับใจจากนิสัยบาปและขอการอภัยบาปจากพระองค์ พระเยซูคริสต์ทรงตรัสว่า นี่แหละคือชีวิตนิรันดร์ คือการที่เขารู้จักพระองค์ ผู้ทรงเป็นพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียว และรู้จักพระเยซูคริสต์ที่พระองค์ทรงใช้มา และใช้ชีวิตตามบัญญัติใหม่ของพระองค์ คือให้เรา รักพระเจ้าด้วยสุดใจสุดกำลังสุดความคิด และรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง เพียงเท่านี้เราก็จะพ้นจากทุกข์และได้รับชีวิตนิรันดร์ตามพระสัญญา

2. ไตรลักษณ์

หมายถึง ลักษณะแห่งธรรมชาติ

2.1 อนิจจัง หมายถึง สรรพสิ่งล้วนไม่เที่ยง ไม่แน่นอน

2.2 ทุกขัง หมายถึง สรรพสิ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

2.3 อนัตตา หมายถึง แท้จริงตัวตนแห่งสรรพสิ่งล้วนไม่มี เป็นเพียงธรรมชาติที่มาประชุมกันเท่านั้น -

พระคัมภีร์กล่าวว่า เพราะว่าสรรพสิ่งเหล่านั้นต้องเข้าอยู่ในอำนาจของอนิจจัง ไม่ใช่ตามใจชอบของตนเอง แต่เป็นไปตามที่พระเจ้าได้ทรงให้เข้าอยู่นั้น ,สรรพสิ่งเป็นระเบียบอยู่ในพระองค์ นั้นหมายความว่า ทุกสิ่งล้วนอยู่ภายไต้การควบคุมและอำนาจการจัดการของพระเจ้าที่จะให้เป็นไป

3. ปฏิจจสมุปบาท 11

หมายถึง ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น เป็นชีวิต

3.1 อวิชชา คือความไม่รู้ความจริงว่าเกิดมาทำไม เกิดได้อย่างไร มีชีวิตอยู่เพื่ออะไร ไม่รู้ในอดีต-อนาคต และอริยสัจ เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป

3.2 นามรูป คือ ขันธ์ต่าง ๆที่ประชุมกันเป็นรูปร่าง เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร

3.3 สังขาร คือ ตัวปรุงแต่งจิต ลักษณะต่าง ๆ ตามนามรูปที่เกิดขึ้น เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ

3.4 วิญญาณ คือ ตัวรู้ เป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะ

3.5 อายตนะ คือ อวัยวะ ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อรอรับการกระทบ เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ

3.6 ผัสสะ คือการกระทบกันระหว่างอายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา

3.7 เวทนา คือความรู้สึกที่ได้รับจากการกระทบกันของอายตนะ เป็นปัจจัยทำให้เกิด ตัณหา

3.8 ตัณหา คือความอยากกระทำที่จะตอบสนองความรู้สึกที่ได้รับจากการกระทบกันนั้น เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน

3.9 อุปาทาน คือความรู้สึกว่ามีการกระทำเกิดขึ้น และรับผลจากการกระทำนั้น เป็นปัจจัยให้เกิด ภพ

3.10 ภพ คือ ความที่มีตัวเรารับผลจากการจากกระทำนั้น และมีผู้ที่กระทำ เป็นปัจจัยทำให้เกิดชาติ

3.11 ชาติ คือ การที่เกิดเป็นตัวเป็นตน อย่างสมบูรณ์ และเป็นปัจจัยให้เกิด ชรามรณะ หมุนเวียนกันไป -

คริสตศาสนาถือว่า เหตุที่เราเกิดมา ก็เพื่อเราจะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพระองค์ และใช้สรรพสิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง จึงทรงสร้างมนุษย์ให้มีสติปัญญามากกว่าสัตว์ประเภทอื่น ๆ แต่เพราะการล่วงละเมิด นั่นคือเราเชื่อฟังความต้องการของตัวเอง มากกว่า ความถูกต้อง จึงทำให้เกิด “ความเห็นแก่ตัว” หรือ “กิเลสตัณหา” และสิ่งนี้เองที่ทำให้เกิดบาป หรือ การที่เราไม่เชื่อฟังพระเจ้า ไม่ปฏิบัติตามกฏศีลธรรม เพียงหลงไปตามการล่อลวงของกิเลสตัณหาและตามสภาพแวดล้อมที่มารล่อลวงเรา ตัณหาทำให้เกิดบาป และบาปก็นำไปสู่ความตาย เหตุเพราะเรารู้จักว่าอะไรถูก อะไรดี รู้จักธรรมบัญญัติ เราจึงมีบาปตามธรรมบัญญัติ และผิดต่อจิตสำนึกผิดชอบของเรา และความบาปนั่นเองทำให้เรา ได้รับคำสาปแช่ง

ตามพระคัมภีร์เฉลยธรรมบัญญัติว่าเราจะต้องทนทุกข์ลำบาก ต้องมีอายุ และมีความเจ็บป่วย

ดังนั้น เราอาจสรุปได้ว่า เหตุที่ทำให้เราเกิดทุกข์ก็คือ การที่เราไม่เชื่อฟังพระเจ้า ไม่เชื่อฟังธรรมบัญญัติ ไม่สนใจที่จะกลับตัว นั่นเอง  

 

คุณเฟิร์ส